ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ร่วมกับแก้ปัญหาเป็นฐาน
ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
************
นางสาวณัฐพร เอี่ยมทอง
โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 37 คน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ครูผู้สอน เพื่อนคู่คิด หัวหน้างานวิชาการ ร่วมกับรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ร่วมปฏิบัติการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านการพัฒนาบทเรียนกับผู้วิจัย เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการวิจัยพบว่า
จากผลการวิจัย พบว่า หลังจากจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ก่อนการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 7.35 คิดมีคะแนนร้อยละ 36.76 หลังการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.73 มีคะแนนร้อยละ 83.65 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ก่อนพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 6.51 มีคะแนนร้อยละ 32.56 หลังพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.05 มีคะแนนร้อยละ 85.26 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับดี สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และจากการสะท้อนคิดของนักเรียน พบว่า มีความเข้าใจในเรื่องที่เรียน หาการเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนได้ดี นักเรียนมีความมั่นใจในการเรียนรู้พร้อมมีการเรียนรู้ รู้สึกสนุกต่อการเรียนและได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้เรียนได้รับความรู้ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม และนักเรียนมีสุนทรียในการเรียนรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ดี
คำถามวิจัย
ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) สูงขึ้นหรือไม่
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
สมมติฐานการวิจัย
การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) สูงขึ้น
ขอบเขตการวิจัย
1 กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 76 คน
2 ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
2.2 ตัวแปรตาม คือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
3 เนื้อหาวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32202 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง หลักการนับ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
วิธีดำเนินการ
ผู้วิจัยจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
1 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
1) เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32201 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง หลักการนับ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 แผน
2) เครื่องมือวิจัย คือ แผนการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) สร้างโดยผู้วิจัย
2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ครูได้เตรียมพร้อมนักเรียนในการมีส่วนร่วมในการเรียนและการจัดกลุ่มคละเพศ และ คละความสามารถ
2) ได้ทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดของเนื้อหาที่สอนและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน โดยผ่านการสอนงานแบบพี่เลี้ยงของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
3) ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผนที่สร้าง และมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ขณะมีการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในการสะท้อนคิดและการปรับแผนฯ โดยกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
4) เมื่อจัดการเรียนรู้จบหน่วยแล้ว ได้ทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น หลังเรียนด้วยแบบประเมิน
จากนั้นผู้วิจัยจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยร้อยละร้อยละ (¯X) เพื่อสรุปผลการวิจัย พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากการเขียนบันทึกหลังสอน ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัยในชั้นเรียน
การศึกษาวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 76 คน โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกัน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 การเปรียบเทียบก่อนและหลัง หลังพัฒนาบทเรียนมีคะแนนผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ก่อนการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ก่อนการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 7.35 คิดมีคะแนนร้อยละ 36.76 หลังการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.73 มีคะแนนร้อยละ 83.65 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ก่อนพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 6.51 มีคะแนนร้อยละ 32.56 หลังพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.05 มีคะแนนร้อยละ 85.26 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน