การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการท้องถิ่น ด้ว
การวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการท้องถิ่นด้วยวิธีการสอน Relax Model เรื่อง ร้อยละ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการท้องถิ่นด้วยวิธีการสอน Relax Model เรื่อง ร้อยละ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการท้องถิ่นด้วยวิธีการสอน Relax Model เรื่อง ร้อยละ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีนักเรียนจำนวน 34 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1. แผนการสอน จำนวน 1 เล่ม 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert Scale) จำนวน 10 ข้อ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที t – test (dependent) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการท้องถิ่น 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.47 /88.13 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการท้องถิ่นด้วยวิธีการสอน Relax Model เรื่อง ร้อยละ คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการท้องถิ่นด้วยวิธีการสอน Relax Model เรื่อง ร้อยละ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.81, S.D.=0.38)
คำสำคัญ:การเรียนรู้คณิตศาสตร์ บูรณาการท้องถิ่น ร้อยละ