การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วม_นางเกษฎาธาร
ชื่อวิจัย: การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาใน
ท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0
ของโรงเรียนบ้านเกาะเหลา
ผู้ประเมิน: นางเกษฎาธาร แก้วนพรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเกาะเหลา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการ
ปีที่ประเมิน: 2565
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนบ้านเกาะเหลา มีวัตถุประสงค์ ของการประเมิน ดังต่อไปนี้ 1)เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context : C) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนบ้านเกาะเหลา 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input : I) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนบ้านเกาะเหลา 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process : P) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนบ้านเกาะเหลา 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product : P) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนบ้านเกาะเหลา ได้แก่ ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ คุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนบ้านเกาะเหลา ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูผู้สอน 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน ผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6ปีการศึกษา 2564 จำนวน 67 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการ แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และเปรียบเทียบผลการทดสอบด้วย t-test Independent
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1) ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการทั้งครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งความคิดเห็นของครูผู้สอนและความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ประเด็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งความคิดเห็นของครูผู้สอนและความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ประเด็นความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งความคิดเห็นของครูผู้สอนและความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ประเด็นความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งความคิดเห็นของและความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2) ด้านปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการปีการศึกษา 2564 ทั้งครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นความพร้อมของบุคลากร ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ประเด็นความเพียงพอของงบประมาณ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ประเด็นความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ประเด็นการบริหารจัดการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ประเด็นหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก
3) ด้านกระบวนการ ปีการศึกษา 2564 ดังนี้ โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็น ความคิดเห็นของครูผู้สอน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4) ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ปี 2564 สูงกว่าปี 2563 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 คุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน ปีการศึกษา 2564 พบว่า ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่าคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนมีคุณภาพในระดับมาก ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่นในสภาวะระบาดโรคโควิด 19 เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาการของผู้เรียนยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนบ้านเกาะเหลา ปีการศึกษา 2564 พบว่า ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก