การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial
เพื่อศึกษาวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial เพื่อศึกษาวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ก่อนและหลังเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.วัดระดับเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร
รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มา 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 2 ห้องเรียน โดยเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 มีนักเรียน 30 คน มาเป็นตัวอย่างที่ใช้สำหรับการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 ใช้สูตร 80/80
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้ด้วยห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial ก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สูตร Dependent Samples t-test
3. วัดระดับเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริง ด้วย Metaverse Spatial วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating-Scale) ของลิเคอร์ท (Likert) โดยการหาค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า
1. ห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดย มีค่าเฉลี่ย 85.55/80.33
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการวัดระดับเจตคติหลังเรียนห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีระดับเจตคติที่ “ชอบมาก” โดยมีค่าเฉลี่ย 4.08