การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกา
หาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางรชนิกร ศิริมั่น
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2)ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบัวใหญ่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3)แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4)แบบวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า “MACRO model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ การที่ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ และผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยี ได้ตลอดเวลาทุกสถานที่โดยมีครูทำหน้าที่แนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) ขั้นการสร้างแรงจูงใจ สร้างแรงบันดาลใจ(Motivation: M) (2) ขั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active learning: A) (3) ขั้นสรุปองค์ความรู้หรือสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้(Conclusion: C) (4) ขั้นสื่อสารและนำเสนอผลการเรียนรู้(Reporting: R) และ(5) ขั้นนำผลการเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ เผยแพร่(Obtain: O) 4)การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความสามารถและความพร้อมในการใช้และมีพื้นฐานในการเข้าถึงเทคโนโลยี มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน โดยผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.20/81.26 2) ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2)ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับสูง และ 2.3)ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด