LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

เผยแพร่ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ ครูรจนา 2-65

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง แรงอ่อนและแรงเข้ม
ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
วันที่ ......... เดือน ........................... พ.ศ. 2565 เวลา 2 ชั่วโมง

1. มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
    มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 2.2    เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
    ว 2.2 ม.4-6/10 สืบค้นข้อมูลและอธิบายแรงเข้มและแรงอ่อน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสมบัติของแรงอ่อนและแรงเข้ม (K)
2. นำความรู้จากแรงอ่อนและแรงเข้มไปใช้ประโยชน์ได้ (P)
3. มีจิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผลและความรอบคอบจากการอภิปรายร่วมกัน (A)

2. สาระสำคัญ
ภายในนิวเคลียสมีแรงเข้มที่เป็นแรงยึดเหนี่ยวของอนุภาคในนิวเคลียส และเป็นแรงหลักที่ใช้อธิบายเสถียรภาพของนิวเคลียส นอกจากนี้ยังมีแรงอ่อน ซึ่งเป็นแรงที่ใช้อธิบายการสลายให้อนุภาคบีตาของธาตุกัมมันตรังสี

3. เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
3.1 การเกิดอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
3.2 หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า

4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีจิตสาธารณะ
2. มีจิตวิทยาศาสตร์

5. สมรรถนะสำคัญ
5.1 ความสามารถในการคิด
5.2 ความสามารถในการสื่อสาร
5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา
5.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
6. ชิ้นงาน
    ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ

7. กิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) (ภายใต้การเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019)
ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage)
    1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยอภิปรายเพื่อทบทวนเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของอะตอมโดยอาจยกตัวอย่างสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุหนึ่ง จากนั้น ให้นักเรียนบอกความหมายของเลขมวลและเลขอะตอม เพื่อระบุจำนวนอนุภาค ชนิดและประจุของอนุภาคภายในนิวเคลียส     

ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจค้นหา (Explore)
    2. ครูอาจให้นักเรียนศึกษาจากกรอบความรู้เพิ่มเติมในหนังสือเรียนหน้า 76 เกี่ยวกับนิวเคลียสและอนุภาค ในนิวเคลียสหรือนิวคลีออน
    3. ครูให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับแรงอ่อนซึ่งเป็นแรงพื้นฐานในธรรมชาติที่เกี่ยวช้องกับการสลายให้อนุภาคบีตา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันจนได้ข้อสรุปตามแนวทางในหนังสือเรียน และครูอาจใช้วีดิทัศน์เกี่ยวกับการสลายให้อนุภาคบีตาประกอบการอภิปราย
    4. ครูให้นักเรียนตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ 2.5 1 ข้อและ 2 โดยอาจมีการเฉลยคำตอบและอภิปราย
คำตอบร่วมกัน
    5. ครูให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับแรงเข้ม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จากนั้นให้นักเรียนอภิปราย
ร่วมกันจนได้ข้อสรุปตามแนวทางในหนังสือเรียน

ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายความรู้ (Explain)
    6. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงอ่อนและแรงเข้ม
    
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความเข้าใจ (Elaborate)
    7. ครูให้นักเรียนตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ 2.5 ข้อ 3 โดยอาจมีการเฉลยคำตอบและอภิปราย
คำตอบร่วมกัน
    8. จากนั้นครูนำนักเรียนอภิปรายเกี่ยวแรงพื้นฐานในธรรมชาติทั้งหมด 4 แรง ได้แก่ แรงโน้มถ่วง แรง
แม่เหล็กไฟฟ้า แรงอ่อน และแรงเข้ม ในด้านที่เกี่ยวข้องกับระยะทางที่แรงส่งผลและการเปรียบเทียบ
ความเข้มของแรงแต่ละชนิด จนได้ข้อสรุปตามหนังสือเรียน
    9. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ
    10. ครูให้นักเรียนถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติเป็นการบ้าน

ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)
    11. ครูให้นักเรียนตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ 2.5 ในรายละเอียดหนังสือ
    12. ครูตรวจสอบผลคะนนแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ







8. การวัดและการประเมินผล
วิธีการ    เครื่องมือ    เกณฑ์การประเมิน
- ทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
แรงในธรรมชาติ    - แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
แรงในธรรมชาติ    - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
- ตอบคำถามตรวจสอบ
ความเข้าใจ 2.5 ในหนังสือเรียน    - คำถามตรวจสอบความเข้าใจ 2.5 ในหนังสือเรียน    - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
- ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ     - แบบถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ
    - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
- สังเกตพฤติกรรม
การทำงานรายบุคคล    - แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานรายบุคคล    - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
- สังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม    - แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม    - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
- สังเกตความมีจิตวิทยาศาสตร์    - แบบประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์    -    ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์


9. สื่อการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2
         9.2 แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ        
         9.3 ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แรงในธรรมชาติ
9.4 คำถามตรวจสอบความเข้าใจ 2.5 ในหนังสือเรียน
9.5 อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม

10. ความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………


                        ลงชื่อ..........................................หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
                     (นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์)

11. ความคิดเห็นของรองผู้บริหารสถานศึกษา ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………


                        ลงชื่อ..........................................รองผู้อำนวยการโรงเรียน
                     (นางนวลนิตย์ ถาวงษ์กลาง)
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
    ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
    แนวทางการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................        
                            ลงชื่อ..................................................ครูผู้สอน
                         (……………………………………….)



ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..


ลงชื่อ..........................................ผู้อำนวยการโรงเรียน
                     (นายสยาม เครือผักปัง)
                 ................/......................................./..................

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แรงในธรรมชาติ
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ชื่อ.............................................สกุล....................................ชั้น......เลขที่.....

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.    แรงในธรรมชาติหรือแรงพื้นฐานมีกี่ประเภท
ก.    2 ประเภท    
ข.    3 ประเภท
ค.    4 ประเภท    
ง.    5 ประเภท
2.    สนามไฟฟ้ามีทิศตามข้อใด
ก.    ทิศเดียวกับทิศของแรงที่กระทำต่อประจุลบ        
ข.    ทิศเดียวกับทิศของแรงที่กระทำต่อประจุบวก
ค.        ทิศตั้งฉากกับทิศของแรงที่กระทำต่อประจุลบ
ง.    ทิศตั้งฉากกับทิศของแรงที่กระทำต่อประจุบวก
3.    ข้อใดไม่ใช่แรงพื้นฐานในธรรมชาติ
ก.    แรงไฟฟ้า    
ข.    แรงโน้มถ่วง
ค.    แรงแม่เหล็ก    
ง.    แรงเสียดทาน
4.    สนามแม่เหล็กโลกมีประโยชน์ในด้านใด
ก.    ทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน
ข.    ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนโลก
ค.    ช่วยป้องกันอันตรายจากลมสุริยะ
ง.    ช่วยป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์
5. วัตถุชนิดใดไม่ถูกกระทำเมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก
ก.    ตะปู    
ข.    ช้อนสังกะสี
ค.    กุญแจโลหะ    
ง.    กระดาษสีเงิน
6.    ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าของไดนาโม
ก.    พื้นที่ของขดลวด    
ข.    จำนวนรอบของขดลวด
ค.    ความเข้มของสนามแม่เหล็ก    
ง.    ปริมาณไฟฟ้าที่จ่ายแก่ไดนาโม
    7.    แรงระหว่างอนุภาคซึ่งอยู่ภายในนิวเคลียสจะประกอบ ด้วยแรงอะไร
ก.    แรงโน้มถ่วงเท่านั้น    
ข.    แรงนิวเคลียร์เท่านั้น
ค.    แรงนิวเคลียร์และแรงไฟฟ้า    
ง.     แรงนิวเคลียร์และแรงดึงดูดระหว่างมวล
8. แรงที่ยึดควาร์กในโปรตรอนและนิวตรอน คือ แรงชนิดใด
ก.    แรงเข้ม    ข.    แรงอ่อน
ค.    แรงไฟฟ้า    ง.     แรงโน้มถ่วง
9. จากหลักการของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ สามารถนำไปใช้สร้างเครื่องมือชนิดใด
ก.    ไดนาโม        
ข.    มอเตอร์
ค.    ลำโพงไฟฟ้า    
ง.    โวลต์มิเตอร์
10.    ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการใช้สนามไฟฟ้า
ก.    เครื่องปั่นอาหาร         
ข.    เครื่องถ่ายเอกสาร
ค.    เครื่องออสซิลโลสโคป        
ง.    จอภาพเครื่องอัลตราซาวนด์
    

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แรงในธรรมชาติ
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


ข้อ    คำตอบ
1    ค
2    ข
3    ง
4    ค
5    ง
6    ง
7    ข
8    ก
9    ก
10    ก




























การถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ........................................................
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ชื่อ.....................................................สกุล ...........................................เลขที่..........









พอประมาณ    มีเหตุผล    มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี





        
วัตถุ    วัฒนธรรม    สังคม    สิ่งแวดล้อม







    
        

แนวคำตอบตรวจสอบความเข้าใจ 2.5
1. ในนิวเคลียส โปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกันได้ด้วยแรงชนิดใด
แนวคำตอบ แรงนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นผลมาจากแรงเข้ม
2. การที่นิวเคลียสของสารกัมมันตรังสีสลายให้อนุภาคบีตาแล้วเปลี่ยนไปเป็นนิวเคลียสใหม่ที่มีความเสถียรมากขึ้น เกี่ยวข้องกับแรงใด
แนวคำตอบ แรงอ่อน
3. อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของโปรตอนและนิวตรอนคืออะไร และแรงที่ยึดเหนี่ยวอนุภาคเหล่านี้ไว้คืออะไร
แนวคำตอบ อนุภาคควาร์ก และแรงเข้ม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^