LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง

usericon

ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา    นางสาวทัศนีย์ ทาศรีเพชร
ปีที่พิมพ์    2565

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเปรียบเทียบทักษะการเชื่อมโยงระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) ศึกษาผลการปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 75 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย ครูคณิตศาสตร์ที่มีผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) จำนวน 3 คน นักการศึกษาด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 2 คน นักการศึกษาด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา จำนวน 2 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling ระยะที่ 4 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ซึ่งเป็นชุดเดียวกับระยะที่ 2 ในการประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมมากที่สุด( x=4.50, S.D.=0.55) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมมากที่สุด ( x =3.83, S.D.=0.37) 3) แบบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก ฉบับที่ 2 แบบเลือกตอบเชิงซ้อน ฉบับที่ 3 แบบแสดงวิธีทำ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75, 0.73 และ 0.91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติทดสอบที
    ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1) สภาพการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีลักษณะของการเรียนการสอนตามแนวคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics) แนวคิดการสะท้อนคิด (Reflection) และแนวคิดปัญหาแบบเปิดทางคณิตศาสตร์ (Open Approach) (3) รูปแบบการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ปัญหาท้าทาย ขั้นที่ 2 ขั้นจดจ่อใจคิดหาวิธี ขั้นที่ 3 ขั้นชี้ชวนลงมือทำ ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอผลการเรียนรู้ (4) การวัดและประเมินผล (3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.55 และ S.D.=0.50 ) (3) ประเด็นที่จะต้องปรับปรุงการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มเติมในบางส่วนเพื่อให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้แก่ ด้านภาษา ด้านเนื้อหา และด้านสื่อการสอน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^