รายงานผลการประเมินโครงการนิเทศภายใน ของโรงเรียนพระนารายณ์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี
ชื่อผู้รายงาน นางวรรณา เวียงแก้ว
ปีที่ประเมิน 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการรายงานผลการประเมินโครงการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนพระนารายณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนพระนารายณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) แบ่งเป็นรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ จำนวน 373 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 75 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 93 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 93 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียน จำนวน 3 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น ฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.948 ฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.867 และฉบับที่ 3 เท่ากับ 0.909 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการปรากฏ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนพระนารายณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี โดยภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม มีผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก จากมากไปน้อย ได้แก่ โครงการนิเทศภายในมีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมา ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการได้ระบุถึงการพัฒนาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ และค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการระบุถึงการให้นักเรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตร
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก จากมากไปน้อย ได้แก่ ผู้บริหารมีการประชุมชี้แจงนโยบายการนิเทศภายในให้กับบุคลากร รองลงมา ได้แก่ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานนิเทศภายในที่มีประสบการณ์ และค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย ได้แก่ คณะกรรมการนิเทศมีความรู้ ความสามารถในการนิเทศ และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอนของครู
3. ด้านกระบวนการ มีผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก จากมากไปน้อย ได้แก่ ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในครอบคลุมภารกิจ รองลงมา ได้แก่ นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน และนิเทศการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ และค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย ได้แก่ การจัดลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมนิเทศภายในสอดคล้องต่อเนื่องกัน
4. ด้านผลผลิต มีผลการประเมินแยกตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยมีผลการประเมิน ดังนี้
4.1 ผลการประเมินตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก จากมากไปน้อย ได้แก่ การนิเทศภายในช่วยให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ในการสอนและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนพัฒนาวิธีการหรือรูปแบบการนิเทศภายในอย่างเหมาะสมกับบริบทของตนเอง และค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย ได้แก่ ครูสามารถกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนและสอดคล้องกับหลักสูตร และนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
4.2 ผลการประเมินตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก จากมากไปน้อย ได้แก่ นักเรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง และสรุปองค์ความรู้ของตนเอง รองลงมา ได้แก่ นักเรียนได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของตนเองและนักเรียนมีทักษะการคิด การจัดการและการแก้ไขปัญหา และค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย ได้แก่ ครูสนับสนุนให้นักเรียนนำผลงาน มาประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนของนักเรียน
4.3 ผลการประเมินตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก จากมากไปน้อย ได้แก่ ท่านมีความพึงพอใจและให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในและโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน รองลงมา ได้แก่ บุตรหลานของท่านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย ได้แก่ บุตรหลานของท่านปฏิบัติตน ตามระเบียบของโรงเรียน