การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL)
ผู้วิจัย นางสาวอามานี นิฮะ
ปีการศึกษา 2563
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) ในด้าน 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2.3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.4) ความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน โดย ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One-Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ("X" ̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าที แบบไม่เป็นอิสระ (t – test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระ การจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 เตรียมพร้อม (A: Arrange) ขั้นที่ 2 สร้างแรงจูงใจ (M : Motivation) ขั้นที่ 3 สังเกตและจดจำ (N : Notice) ขั้นที่ 4 ช่วยเหลือ (H : Help) และการวัดผลและประเมินผล ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนจากการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลปรากฏว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.58/83.36 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) ปรากฎดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.2 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับพอใช้ (ร้อยละ 57.46) เป็นระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 82.61)
2.3 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับพอใช้ (ร้อยละ 59.10) เป็นระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 88.63)
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (AMNH MODEL) โดยรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.59, S.D. = 0.79)