การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครู
ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายพิทักษ์ โสตแก้ว
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน 3) ครูผู้สอนโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า ด้านสภาพการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครู ในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ คือ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่พัฒนามีชื่อเรียกตามอักษรแรกของกระบวนการเสริมพลังอำนาจของรูปแบบการบริหารโรงเรียน คือ “2ET2A Model” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ มีกระบวนการย่อย 5 ขั้นตอน คือ 1) การเสริมพลังอำนาจ (Empower : E) 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Training : T) 3) การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning : A) 4) การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (Evaluation : E) และ 5) การทบทวนหลังกิจกรรม (AAR : A) องค์ประกอบที่ 4 เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ ดังนี้ 1) ผลการประเมินโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถของครู ในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า ก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก แตกต่างกัน โดยหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีความก้าวหน้าร้อยละ 52.46 2) ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม ในโครงการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินความสามารถการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้แบบประเมินความสามารถการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครู ในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า 1) ความพึงพอใจของครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่าความพึงพอใจของครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก จากการบันทึกผลการสะท้อนความคิดเห็นของครู จากการสะท้อนผลจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ และแนวทางการประยุกต์ใช้หลังจากที่ทีมเรียนรู้ได้เข้าร่วมเรียนรู้ จากกิจกรรมต่าง ๆ คณะครูได้สะท้อนในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ว่าเข้าใจถึงกระบวนการของการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน, การจัดการเรียนรู้ ที่เป็น Active Learning ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง, เห็นภาพของห้องเรียนที่มีความสุข, การทำงานร่วมกันของครู, และจะนำแนวทางนี้ไปปรับใช้ ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ การทำงานให้พัฒนายิ่งขึ้น