การปรับพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในการเก็บของเล่น
ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลเมืองปัตตานี
ชื่อผู้วิจัย นางสาวณภคกร เจะเลาะ
สาระการเรียนรู้ อนุบาล
ปีที่ทำการวิจัย ปี 2565
________________________________________________________________________________
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ต้องการให้เด็กทุกคนมีมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัยเพื่อให้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพด้วยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท หยืดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคมและวัฒนธรรมไทย พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพและมีความสุข ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษาในการพาเด็ก (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : คำนำ)
จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ได้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยโดยถือว่าการเล่นเป็นงานของเด็ก เด็กเรียนรู้จากการเรียนปนเล่น ผลจากการวิเคราะห์พัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในความรับผิดชอบ พบว่า ในทุกปีการศึกษา เด็กส่วนใหญ่มีคุณลักษณะตามวัยไม่สอดคล้องกับความต้องการของหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณลักษณะตามวัยด้านอารมณ์จิตใจเรื่องคุณธรรมและจิตใจที่ดีงาม ซึ่งสังเกตจากการเก็บของเล่น เด็ก ๆ จะเก็บของเล่นไม่ถูกที่ บางคนเมื่อถึงเวลาเก็บจะเก็บของเล่นอย่างเชื่องช้า เก็บของเล่นมาปะปนกัน โยนของเล่นส่งเสียงดัง ทำให้ของเล่นชำรุดเสียหาย กล่าวโดยสรุปคือเด็กขาดวินัยในตนเอง จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพบว่ายังขาดกระบวนการอบรมดูแลและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ สังคมของครอบครัว การไม่ตระหนักและเห็นความสำคัญของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องตลอดจนการมีภารกิจรับผิดชอบมากเกินไปของครูผู้สอน เช่น เมื่อผู้ใหญ่ไม่มีเวลาอบรมเด็กและขาดการดูแลที่ถูกวิธี เมื่อเด็กเล่นของเล่นเสร็จผู้ใหญ่จะคอยเก็บให้ ทำให้เด็กไม่เคยชินกับการเก็บของเล่นด้วยตนเอง เด็กบางคนมีความคับข้องใจ เพราะถูกบังคับมากเกินไปจึงมีพฤติกรรมเพื่อเรียกร้องความสนใจด้วยการขว้างปาของเล่น หยิบของเล่นที่โรงเรียนกลับไปเล่นที่บ้าน เด็กที่ซุกซนผิดปกติบางคนก็เป็นเด็กที่พ่อแม่รักมาก ตามใจและปกป้องมากเกินไปส่วนเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว มักจะเป็นเด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการเกลียดชังและทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว บางทีก็ถูกลงโทษจากพ่อแม่ที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็ก ๆ จึงขาดวินัยในตนเอง ครูจึงต้องพยายามหาทางแก้ไขด้วยวิธีการที่เป็นระบบและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตเช่น การสร้างข้อตกลงร่วมกัน การให้คำชมเชย ให้รางวัลการให้คะแนนหรือหักคะแนน การให้ในสิ่งที่เด็กต้องการ ให้การยอมรับและเอาใจใส่
นิทาน หมายถึง เรื่องราวที่แต่งขึ้นหรือผูกขึ้นเพื่อนามาเล่าหรือถ่ายทอดสู่เด็ก ด้วยเทคนิควิธีการ ต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์เฉพาะเจาะจงเพื่อเด็ก นิทานยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกทักษะ เตรียมพร้อมในการเรียนของเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์ของการเล่านิทานเพื่อการเตรียมความพร้อม เด็กปฐมวัยการฟังนิทานนอกจากจะทำให้เด็กมีความสนุกสนานและผ่อนคลายอารมณ์แล้วนิทานยัง ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางภาษา โดย ฉพาะทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก การคิดและจินตนาการที่กว้างไกล รวมถึงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็กจากการฟังนิทานที่ มีเนื้อหาสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามจากการเลียนแบบพฤติกรรมของตัวละครใน นิทานที่ดีเด็กได้ฟังเด็กจะมี ความเชื่อ ศรัทธา และพร้อมที่จะปฏิบัติตนตามบทบาทของตัวละครนั้น ๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มักจะมีการเรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ จากการเลียนแบบบุคคลที่เด็กรักศรัทธาและเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูร่า
จากหลักการและเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะนำนิทานมาเป็นเครื่องมือ ในการปรับพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในการเก็บของเล่นโดยใช้กิจกรรมนิทานของเด็กปฐมวัยอชั้นอนุบาล 2/2 อายุ 4-6 ปี เพื่อส่งเสริมระเบียบวินัยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเก็บของเล่นและให้เป็นบุคคลที่มีระเบียบวินัย และพลเมืองที่ดีของประเทศชาติต่อไป
คลิกที่นี่ เพื่อโหลด PDF ฉบับเต็ม