LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

รูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : รูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย    :     นางอินทิรา ปงลังกา
ปีการศึกษา :     2564

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการดำเนินวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดย 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของครูจำนวน 43 คน 3) สนทนากลุ่มครูวิชาการ จำนวน 9 คน 4) สนทนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสรุปข้อมูล แบบสรุปข้อมูล แบบบันทึกการประชุม และประเด็นสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบ โดยการออกแบบและยกร่างรูปแบบ ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบและความเหมาะสมของคู่มือรูปการใช้แบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและแบบตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 43 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เพื่อประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และสรุปข้อมูลสะท้อนผลการส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวม เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบประเมิน จำนวน 2 ฉบับ และแบบสรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for one sample วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครู รวม 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น พบว่า 1) ครูมีความต้องการได้รับการสนับสนุนให้ทำวิจัยในชั้นเรียน และใช้ผลงานการทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบ โดยมีการกำหนดนโยบายด้านการวิจัยที่ชัดเจน สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยในระหว่างการปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียน ให้ความช่วยเหลือ คำแนะนำ ปรึกษา และร่วมกันสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา นิเทศติดตามผลการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ครูทำผลงานประกวดในระดับต่าง 2) แนวทางการนิเทศเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน คือ ส่งเสริมพัฒนาครูผู้สอนให้ศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ระบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนเป็นผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และนำเสนอข้อแนะนำเพื่อการปรับปรุงระบบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการนิเทศ การวัดและประเมินผล เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีกระบวนการนิเทศ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างทีมและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน 2) ขั้นวางแผนการนิเทศ 3) ขั้นร่วมปฏิบัติการนิเทศ 4) ขั้นเปิดรับการชี้แนะการทำวิจัยในชั้นเรียน 5) ขั้นสะท้อนผลการนิเทศร่วมกัน และ 6) ขั้นเผยแพร่สู่สาธารณะและสร้างเครือข่าย ซึ่งโดยรวมรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 1) ครูมีความสามารถในการปฏิบัติตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมมีความสามารถอยู่ในระดับดี และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) ครูมีความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) สรุปข้อมูลสะท้อนผลการส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวม พบว่า ครูทุกคนมีส่วนร่วมและมีผลงานทางวิชาการ คือ รายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับย่อหรือฉบับเต็มอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มีจุดที่ควรพัฒนาคือ โรงเรียนควรจัดอบรมปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจการทำวิจัยในชั้นเรียนและฝึกปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องจนเป็นแบบอย่างได้ และผู้บริหารควรให้ความสำคัญวิจัยในชั้นเรียนและถือเป็นนโยบายหลักของสถานศึกษา และส่งเสริมให้ผู้วิจัยจัดทำและเผยแพร่งานวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วารสารของโรงเรียน
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^