LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา

usericon

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
        ทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย        นางซูไวบ๊ะ อาซัน
ปีการศึกษา    2563

    
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (%) ผลการวิจัยพบว่า
    1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทฤษฎี/ หลักการ 2) จุดประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน (S : State learning) ขั้นที่ 2 นำเข้าสู่บทเรียน (W : Warm up) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติกิจกรรม (A : Activity) ขั้นที่ 4 แนะนำ (I : Introduce) ขั้นที่ 5 ย้อนกลับ (B : Backward) ขั้นที่ 6 ประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)ขั้นที่ 7 ช่วยเหลือ (H : Help)การประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอน มีความสอดคล้องของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
    2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรากฎผลดังนี้
        2.1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ("X" ̅ = 34.38, S.D. = 2.81) สูงกว่าก่อนเรียน ("X" ̅ = 27.88, S.D. = 3.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        2.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มากกว่าร้อยละ 80 ทุกระยะ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^