การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism
ผู้วิจัย นางรัชนี ภูลสวัสดิ์
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1)ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.2) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ E1/E2
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อเรียกว่า ESQSRE Model มี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. หลักการ
2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1 ขั้นกระตุ้นให้คิดและเชื่อมโยงความรู้เดิม (Engagement) 3.2 ขั้นฝึกอ่านด้วยตนเอง (Self-Reading) 3.3 ขั้นตั้งคำถาม (Questioning) 3.4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share Ideas) 3.5 ขั้นทบทวนสรุป (Review and Summary)
3.6 ขั้นประเมินผล (Evaluation) 4. ระบบสังคม 5. ระบบสนับสนุน และ 6. หลักการตอบสนอง
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
3.1 การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.05/82.07
3.2 การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ , การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ,
ทฤษฎี Constructivism, กลวิธี QAR