การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการของการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย 2) ออกแบบและตรวจสอบคุณภาพร่างรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย
กลุ่มประชากรจำแนกเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วย 1) กลุ่มประชากรที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
สภาพปัจจุบัน และความต้องการของการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์กการบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย , การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย , การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย โดยเป็นคณะครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย จำนวน 19 คน คัดเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มประชากรที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรูปแบบและการตรวจสอบคุณภาพของร่างรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย 2) คู่มือการนิเทศตามรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และความต้องการของการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสอบถามการประเมินร่างรูปแบบการนิเทศภายใน 3) แบบแบบสอบถามการประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 4) แบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการนิเทศภายใน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของ ครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.97 , 0.98 , 0.97 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ , ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Priority Needs Index: PNI modified) , ค่าเฉลี่ยของประชากร () } ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร (σ)
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน มีระดับความต้องการจำเป็น อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนการนิเทศ , การให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ , การปฏิบัติการนิเทศภายใน , การวิเคราะห์ข้อมูลหลังการนิเทศ , การเสริมสร้างกำลังใจ , การประเมินผลการนิเทศ ผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ในด้านความเหมาะสม , ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ มีผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย ในภาพรวมครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย ในภาพรวมครูมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด