การนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ผู้รายงาน นางศศิญดา กิตติพัฒนพงษ์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา)
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) จำนวน 10 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบบประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 26 ข้อ
ผลการนิเทศส่งเสริมการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ทำให้ครูจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง นักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้ที่คงทน และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ส่งผลให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 90.84 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 62.94 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 เช่นเดียวกัน และโรงเรียนได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการนำผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปีการศึกษา 2564