การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.54/81.10
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x-bar) โดยรวมเท่ากับ 4.60 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.64