การประเมินโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน
โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest
ผู้ประเมิน : นางสำรวย พงษ์ภัทรทรัพย์
ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ปีการศึกษา : 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest และ2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการปีการศึกษา 2565 จำนวน 158 คน จำแนกเป็น ครูผู้สอน จำนวน 5 คน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 72 คน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 72 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการปีการศึกษา 2565 จำนวน 124 คนจำแนกเป็น ครูผู้สอน จำนวน 5 คน เป็นประชากรทั้งหมด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ยกเว้นกรรมการผู้แทนครู ซึ่งอยู่ในส่วนของครูผู้สอนแล้ว และผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ประเมินโครงการในครั้งนี้ ผู้ปกครองนักเรียน เป็นประชากรทั้งหมด และนักเรียน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 40 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านแบบสอบถามได้คล่องทุกคนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น จำนวน 9 ฉบับ และแบบแล้วสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ผู้ประเมินสรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังนี้
การประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
การประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินผลผลิต (Products Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านลำดับสูงสุด ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือ-เนตรนารีอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กิจกรรมอาหารเสริมนม อยู่ในระดับมาก และลำดับต่ำสุด ได้แก่ กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย อยู่ในระดับมาก และการประเมินผลผลิต (Products Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดดังนี้ ความพึงพอใจของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ ครูสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากโครงการสุขภาพดี และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) ของโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
แนวทางการพัฒนาโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
สรุปผลการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จากครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ดำเนินการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1-5 มีนาคม 2565 แล้วนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาสรุปแนวทางการพัฒนาโครงการสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีสวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
โดยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรอบรู้เรื่องการมีสุขภาพดี มีจิตอาสา วาจาไพเราะของนักเรียนส่งเสริมให้นักเรียนได้ออกกำลังกายทุกวันหลังเลิกเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รณรงค์และเชิญชวนให้ชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมการส่งเสริมการ มีจิตอาสาของนักเรียนให้นักเรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่น จัดกิจกรรมพัฒนาโดยการอาสาสมัคร เข้า ร่วมกิจกรรมจิตอาสาและพัฒนาชุมชน ปลูกฝังให้มีความสามัคคีในหมู่คณะ ปลูกฝังให้เป็นคนดี ปลูกฝังให้เข้าร่วมกิจกรรม และจัดกิจกรรมจิตอาสาของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการฝึกมารยาทไทยเพื่อให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริงจังและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และจัดกิจกรรมส่งเสริมมารยาทในการพูดการเข้าสังคม จนทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายโดยปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติสุข มีภาวะความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีข้อขัดแย้งในใจและความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข มีจิตอาสา มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยใจอาสาและรับผิดชอบต่อสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน และพูดจาไพเราะ อ่อนหวาน พูดแต่ในสิ่งที่ดี พูดในสิ่งที่สร้างสรรค์ ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น เป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจในการทำความดี ทุกรูปแบบ เพื่อพัฒนาตนให้เป็นกัลยาณมิตรต่อทุกคน และครูพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อปลูกฝังและพัฒนาพฤติกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกิจกรรมในด้านการดูแล และรักษาสุขภาพอนามัย กิจกรรมจิตอาสา และกิจกรรมงามอย่างไทย