LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ(Coaching)

usericon

ชื่อเรื่อง : การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้วิจัย    : นางสำรวย พงษ์ภัทรทรัพย์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านศรีสวาย
ปีการศึกษา : 2564
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) สร้างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 5) ขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ผู้วิจัยดำเนินการโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูวิชาการในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 233 โรงเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 233 คน ส่วนที่ 2 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูวิขาการในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 233 โรงเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 233 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยดำเนินการโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ยกร่างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้วิจัย ส่วนที่ 2 ประเมินร่างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ การนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) จำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานผู้วิจัยดำเนินการโดย แบ่งออก เป็น 2 ส่วน ดังนี้ส่วนที่ 1 พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้วิจัย ส่วนที่ 2 ประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอนผู้ร่วมโครงการ ศึกษารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 21 คน และขั้นตอนที่ 5 ขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอนโรงเรียนที่ขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
    ผลการวิจัยพบว่า
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    1.ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
        1.1 ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
              1.1.1 สภาพปัญหาของการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ การสรปุผลการสอนแนะ อยู่ในระดับมาก การเตรียมการก่อนการสอนแนะ อยู่ในระดับมาก การดำเนินการสอนแนะ อยู่ในระดับมาก การตรวจสอบและประเมินผลการสอนแนะ อยู่ในระดับมาก และกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก     
              1.1.2 ความต้องการของการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ การตรวจสอบและประเมินผลการสอนแนะ อยู่ในระดับมากที่สุด การดำเนินการสอนแนะ อยู่ในระดับมากที่สุด กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก การเตรียมการก่อนการสอนแนะ อยู่ในระดับมาก และการสรปุผลการสอนแนะ อยู่ในระดับมาก
         1.2 ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
             1.2.1 สภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก และการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก
              1.2.2 ความต้องการของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมาก การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก และการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก
    2. ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         2.1 ผลการยกร่างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้มีแนวทางการนำเสนอ 5 ขั้นตอน ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ระบบกลไกเงื่อนไขของรูปแบบ กระบวนการวิธีการหรือยุทธศาสตร์ของรูปแบบ และ การประเมินรูปแบบ
         2.2 ผลการประเมินร่างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) โดยรวม อยู่ในระดับมาก และมาตรฐานด้านความถูกต้อง (Accuracy Standards) โดยรวม อยู่ในระดับมาก
    3. ผลการพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         3.1 ผลการพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้มีแนวทางการนำเสนอ 6 ขั้นตอน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการดำเนินงานระบบติดตามประเมินผล และเอกสารอ้างอิง
         3.2 ผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) โดยรวมอยู่ในระดับมากและมาตรฐานด้านความถูกต้อง (Accuracy Standards) โดยรวม อยู่ในระดับมาก
    4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนผู้ร่วมโครงการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับสูงสุดได้แก่ รูปแบบสอดคล้องกับเงื่อนไขความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ รูปแบบในแต่ละขั้นตอนมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน อยู่ในระดับมาก
    5. ผลการขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ผลการขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนที่ขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับสูงสุดได้แก่ รูปแบบสอดคล้องกับเงื่อนไขความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ รูปแบบในแต่ละขั้นตอนมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^