การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน ประจำปีงบประมาณ 2566
ชื่อผลงาน(Best Practice) การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ
ชื่อผู้ส่งผลงาน นางสาวเอมอร อจลเสรีวงศ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียน บ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สหวิทยาเขต พุทธสาคร
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอเป็นบทสรุปเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องนำเสนอรูปแบบหรือวิธีการสอนที่น่าสนใจและกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้ก้าวหน้าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งการเรียนภาษาอังกฤษทักษะภาษาอังกฤษจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้านคือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน โดยเฉพาะทักษะการพูดที่มีความสำคัญต่อยุคสมัยปัจจุบัน ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความสนใจศึกษากิจกรรมบทบาทสมมติ (Role Play ) ในการนำมาประยุกต์สู่การสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งกิจกรรมบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง ประกอบด้วยผู้เรียนและผู้สอนมักจะประสบกับปัญหาจากการเรียนการสอนภาษาอังกฤษคือ เด็กไทยจำนวนมากที่มีลักษณะนิสัยค่อนข้างขี้อาย และไม่มั่นใจในตนเอง โดยเฉพาะในการแสดงออกด้านการสื่อสาร เมื่อไม่เข้าใจส่วนใหญ่จะเงียบและไม่มีการปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนเท่าที่ควร ผู้ส่งผลงานการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
(Best Practice) จึงได้ส่งผลงานชื่อ “การพัฒนาด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ” เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ความเป็นมาและความสำคัญ
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีความจำเป็นเป็นอย่างมากต่ออนาคต ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและเป็นเมืองท่องเที่ยวซึ่งมีชาวต่างชาติมากมายชื่นชมในการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมไทย รวมทางผู้คนชาวไทยที่มีอัธยาศัยอันดีงาม ภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นภาษาในการสื่อสารสากลจึงมีความสำคัญต่อโลกและสังคมในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในรูปแบบดั้งเดิมที่เน้นการอ่านการเขียนทำให้การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ยังไม่ส่งผลได้ดีสมบูรณ์เท่าที่ควร โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสารที่จำเป็นต้องใช้จริงในสถานการณ์ต่างๆ ผู้เรียนยังไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติมากนัก ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งผู้เขียนมีแนวคิดในการกิจกรรมบทบาทสมมุติ (Role playing) เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาท สภาพความเป็นจริงจากสิ่งที่เกิดขึ้น ผ่านการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งเทคนิคการสอนรูปแบบนี้ นับว่าเป็นการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงแนวทางในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติในสถานการณ์จริงเมื่อได้พบกับสถานการณ์จริง เป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารได้จากการฝึกฝนด้วยความมั่นใจ ซึ่งความมั่นใจนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร)
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ ของนักเรียนป.6
กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน
1.กิจกรรมการดำเนินงานแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน (P: ขั้นวางแผน)
2.ดำเนินการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ ตามกิจกรรมที่กำหนด (D: ขั้นดำเนินการ)
3.ประเมินผลทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน เพื่อดูพัฒนาการทักษะการสื่อสารของนักเรียน
(C: ขั้นติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล)
4.พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง (A: ขั้นพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง)
ผลการดำเนินการ
1. มีแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาด้านทักษะการสื่อสาร โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ ของนักเรียนชั้น ป.6
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การพัฒนาด้านทักษะการสื่อสาร โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติพบว่าสูงขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน ได้รับการพัฒนาด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น
2. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นมีความมั่นใจและกล้าแสดงออกในการสื่อสารทางภาษามากขึ้นใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้คล่องแคล่วมากขึ้น
ปัจจัยความสำเร็จ
การพัฒนาด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ เพื่อพัฒนาทักษะการพูดของผู้ส่งผลงานนั้นได้รับความร่วมมือและอนุเคราะห์จากทุกๆ ฝ่ายเป็นอย่างดี
บทเรียนที่ได้รับ
จากการจัดกระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ มีข้อสรุปเป็นข้อสังเกต ข้อควรระวัง และข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆ ที่ควรคำนึงถึง เพื่อพัฒนาการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น ด้านความรู้ ด้านสถานที่ ด้านเวลา และจำนวนนักเรียน
ข้อเสนอแนะ
นอกเหนือจากการพัฒนาด้านทักษะการสื่อสารโดยการพูด สามารถเพิ่มเติมทักษะการเรียนรู้อื่นๆ ไปด้วย เช่น กิจกรรมบทบาทสมมติที่นักเรียนสามารถเขียนบทเอง เป็นการฝึกทักษะการเขียน และฝึกฝนทักษะการอ่านไปในตัว โดยใช้การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากทักษะการอ่านและการเขียน
การเผยแพร่ผลงาน
1. นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกิจกรรมวิชาการระดับกลุ่ม สหวิทยาเขตพุทธสาคร ประเภทการแข่งขัน การเล่านิทานภาษาอังกฤษ
2. จัดนิทรรศการการเผยแพร่ผลงานวิชาการแก่นักเรียน คณะครูภายในโรงเรียน
3.ผ่านเว็บไซต์วิชาการต่างๆ
- บรรณานุกรม อ้างอิง
- ภาคผนวก รูปภาพกิจกรรม เอกสารที่เกี่ยวข้อง