LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก)

ผู้วิจัย    :    กาญจนา จันทมัตตุการ

ปีการศึกษา    :    2564

บทคัดย่อ :
การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน และ 4) ประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครสงขลา จำนวน 5 คน ครูผู้สอนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา จำนวน 50 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) จำนวน 44 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างการพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบประเมินความพึงพอใจ รวม 9 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.83, S.D. = 0.67) และโรงเรียนควรมีการพัฒนาครูให้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสถานการณ์โควิด-19 มีการเปลี่ยนผ่านการจัดการเรียนรู้จากรูปแบบปกติมาเป็นแบบออนไลน์ ทำให้เกิดผลกระทบด้านทักษะการอ่านและการเขียน และจากการสนทนากลุ่มย่อยต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูต้องปรับวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นเพื่อเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงและคาดไม่ถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประกอบด้วย
2.1 องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริม
ทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) ขั้นตอนการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบ “Organizing PLWECE Model” ซึ่งมีขั้นตอนหลัก 6 ขั้น และขั้นตอนย่อย 25 ขั้น ดังนี้ (1) การวางแผนการพัฒนา (Planning to Development Stages : P) (2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (Learning Design Stages : L) (3) การนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ (Work to Active Learning Stages : W) (4) การเสริมสร้างกำลังใจ ความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Encourage Collaboration and Share Stages : E) (5) การสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Create Continuous Learning Stages : C) และ (6) การประเมินผล พัฒนา และการรายงาน (Evaluation Development and Report Stages : E)
2.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของ
รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D.= 0.57)
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีความสนใจ ความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.60) ผลการบันทึกการจัดการเรียนรู้ด้านการเตรียมการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีความถูกต้อง/ความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.17, S.D. = 0.72) และด้านความถูกต้อง/ความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.34, S.D. = 0.55)
4. การประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดี ( = 7.77, 7.86 S.D. = 0.82, 0.83) ส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับความเหมาะสม/การนำไปใช้ได้จริงต่อรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = 0.67) และมีความคิดเห็นต่อการปรับปรุงรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบ “Organizing PLWECE Model” ว่าควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^