LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย        นางสาวศิริมนัส แสงงาม
สังกัด        โรงเรียนบ้านห้วยเป้า อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สังกัดเทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง
ปีที่ทำวิจัย    2565

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการสร้างรูปแบบการสอนที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยเป้า อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดเทศบาล ตำบลทุ่งข้าวพวง จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งมีนักเรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกันไป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 6) แบบประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และ 7) แบบสอบถามความ พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)

ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ครูมีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับน้อย
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อเรียกว่า “PSTAR Model” มีองค์ประกอบ 6 ประการคือ หลักการ เนื้อหากิจกรรม บทบาทของผู้เรียน บทบาทของผู้สอนการจัดสภาพการเรียนรู้ และการประเมินผล การจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน การทบทวนความรู้เดิม นำเสนอสิ่งที่ควรเรียนรู้ใหม่ (Preparation & Presentation of Learning : P) ขั้นที่ 2 ขั้นกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ (Stimulation) ขั้นที่ 3 กิจกรรมสร้างกระบวนการคิดเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ขั้นที่ 4 การประเมินและนำไปสร้างองค์ความรู้ (Assessment& Application) ขั้นที่ 5 ขั้นสะท้อนผลกลับ สะท้อนแนวคิดที่ได้โดยการอภิปราย (Reflection)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
3.1 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) PSTAR Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) PSTAR Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) PSTAR Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
4.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) PSTAR Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการรับรองรูปแบบจากครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) PSTAR Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^