รายงานการพัฒนาชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
ผู้ศึกษาค้นคว้า อุษณา ป้อมลิขิตกุล
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 44 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 6 ชุด 2) แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเป็นแบบอัตนัยจำนวน 11 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ พบว่า การคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 7.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.02 และหลังเรียนของผู้เรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 22.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.55 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน หลังเรียนพบว่า การคิดสร้างสรรค์ ของผู้เรียน หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เท่ากับ 0.8084 ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.84 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.50 ขึ้นไป
3. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา ที่มีต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 โดยที่รายการที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ การพัฒนาชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ได้กระตุ้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติอย่างมีความสุข ( x-bar = 4.75, S.D. = 0.55) แปรความอยู่ในระดับมากที่สุด