LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน

usericon

ชื่อเรื่อง     รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะ
         การเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม
         สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ผู้วิจัย      นายสวานิตย์ ศิริบูรณ์
สถานศึกษา     โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
     สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย          2564

บทคัดย่อ

    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และแนวทางในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
4) เพื่อศึกษาความสามารถของนักเรียนด้านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระหว่างก่อนและหลังการใช้แหล่งการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน 1. กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ครู จำนวน 35 คน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 60 คน 2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลจากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติงานเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ โรงเรียนละ 3 คน จาก 2 โรงเรียนรวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 6 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาและสร้างพัฒนารูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ตัวแทนครูผู้สอนระดับตอนต้น-ตอนปลาย จำนวน 2 คน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 3 คน ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน และตัวแทนปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 คน รวมจำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 ศึกษาความสามารถของนักเรียนด้านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระหว่างก่อนและหลังการใช้แหล่งการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของชุมชน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินรูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ EPPPDE MODEL แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ แบบวัดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. กลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งในและนอกสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และความต้องการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
        2. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหับนักเรียน ภายใต้รูปแบบ EPPPDE MODEL ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 6 ขั้น ซึ่งได้แก่
ขั้นที่ 1 สำรวจแหล่งเรียนรู้ ขั้นที่ 2 วางแผนแบบมีส่วนร่วม ขั้นที่ 3 จัดทำข้อมูลสารสนเทศและทะเบียนแหล่งเรียนรู้ ขั้นที่ 4 ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ขั้นที่ 5 กำกับ ติดตาม ประเมินผลและสรุป และขั้นที่ 6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        3. กลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน (EPPPDE Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
        4. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองก่อนการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และภายหลังการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียน นักเรียนมีคะแนนทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก













ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^