รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองโรงเรียนเทศบาล๑
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) พบว่า ความต้องการในการพัฒนาประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 4 ด้าน และตัวบ่งชี้ย่อย จำนวน 24 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ด้านการสำรวจและประเมินตนเองของครู จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ และ 4) ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย จำนวน 7 ตัวบ่งชี้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) พบว่า ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ 3) หลักการ 4) โครงสร้างเนื้อหา 5) กระบวนการดำเนินการ 9 ขั้นตอน (WERACHART Model) ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดความต้องการ (Want) ขั้นที่ 2 กระตุ้น (Encourage) ขั้นที่ 3 ให้คำแนะนำ (Recommend) ขั้นที่ 4 ปฏิบัติ (Act) ขั้นที่ 5 สะท้อนผลการปฏิบัติ (Creative Reflection) ขั้นที่ 6 ให้ความช่วยเหลือ (Help) ขั้นที่ 7 สรุปสู่การนำไปใช้ (Apply) ขั้นที่ 8 ทบทวน (Review) ขั้นที่ 9 ติดตามต่อเนื่อง (Track) และ 6) การวัดและประเมินผล และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.56 และ จากการนำไปใช้พัฒนา พบว่า คุณภาพสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับสูง และผลการ พัฒนาครู จำนวน 3 วงรอบ พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น และครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.58