การบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน (PLC)
ผู้วิจัย อิชยา โอฬา
โรงเรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 4 (วัดหนองใหญ่) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) และ 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLCซึ่งเป็นการวิจัยแบบ Research and Development (R&D) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสนับสนุนข้อมูลและการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ใช้ผสมผสานวิจัยเชิงคุณภาพหลากหลายวิธี อาทิ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 10 คน นักการศึกษา จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน บุคลากรครู จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 10 คน คณะกรรมการชุมชน 10 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 20 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เรื่อง ปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ แบบประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า แต่ละฝ่ายขาดความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ไม่เห็นความสำคัญของการสร้างควาวมสัมพันธ์ต่อกัน โดยชุมชนยังมีแนวคิดว่าการจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า UREA Model มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทางการวัดผล ประเมินผล และเงื่อนไขในการใช้รูปแบบ โดยรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) พบว่า 1) ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) ภาพรวมมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) พบว่า รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) มีความเป็นไปได้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก