LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิต
ในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง
จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย    ณิชาวีร์ สว่างพนาพันธุ์
ปีการศึกษา     2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดเทศบาลตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครูผู้สอน จำนวน 20 คน ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยประเมินสมรรถนะครูและความพึงพอใจของครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) จำนวน 10 คน ประเมินพฤติกรรมด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบ 3) แบบประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ และ 5) แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะชีวิตของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) พบว่า 1) นโยบาย เป้าหมายการพัฒนาประเทศและการพัฒนาการศึกษามีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน คือ ต้องเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยเร่งพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 นั้น มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประกอบด้วย หลักคิด 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 2) การบริหารสถานศึกษาในปัจจุบันจำเป็นต้องก้าวให้ทันโลกศตวรรษที่ 21 คือ มุ่งเน้นในการพัฒนาผู้เรียนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะด้านการบริหารงานวิชาการซึ่งถือเป็นภารกิจหลักและเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนสถานศึกษา 3) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก มักประสบปัญหาหลายด้าน ทั้งด้านการบริหารหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เนื่องจากครูผู้สอนมีจำนวนน้อยและครูบางส่วนขาดศักยภาพ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “POAME Plus 3 Model" ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 4) กระบวนการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Planning (P) การวางแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 2 Organizing (O) การจัดองค์การ ขั้นตอนที่ 3 Active Learning (A) การจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 Motivating (M) การจูงใจ และขั้นตอนที่ 5 Evaluation (E) การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้และการรายงานผลการสอนของครู
ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลและความสอดคล้องของรูปแบบ พบว่า รูปแบบ
การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก แบบ “POAME Plus 3 Model" มีความสมเหตุสมผลกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบ มีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการและจำเป็นในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กและสภาพบริบทของโรงเรียนขนาดเล็กที่สังกัดเทศบาลตำบล องค์ประกอบของรูปแบบและการดำเนินการตามองค์ประกอบมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
ผลการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ พบว่า ในภาพรวม รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก แบบ “POAME Plus 3 Model" มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) มีดังนี้ 1) ผลการประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ในภาพรวม ครูมีพฤติกรรม/การปฏิบัติ เป็นส่วนใหญ่ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ พบว่า ในภาพรวม ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก แบบ “POAME Plus 3 Model" อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินพฤติกรรมด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนจากการใช้รูปแบบ พบว่า ในภาพรวม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับคะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^