รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านของโรงเรียนบ้านตากฟ้าพั
ชื่อเรื่องวิจัย รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านของโรงเรียนบ้านตากฟ้าพัฒนา
ชื่อผู้รายงาน เข็มทิศ นาคสวาสดิ์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตากฟ้าพัฒนา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านตากฟ้าพัฒนา ใช้รูปแบบซิปป์ โมเดล (CIPP Model) โดยมีกรอบในการประเมิน 4 ด้าน คือ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ตามโครงการ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 4 ฉบับ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนในปีการศึกษา 2564 รวมจำนวนทั้งสิ้น 70 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) จากการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านตากฟ้าพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) จากการปะเมินในด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านตากฟ้าพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนใหญ่มีความเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) จากการปะเมินในด้านกระบวนการดำเนินงาน ตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านตากฟ้าพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนใหญ่มีความเห็นต่อด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) จากการปะเมินในด้านผลผลิต ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านตากฟ้าพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด