การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1.1) สภาพปัญหาปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ สภาพปัญหาในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.18, S.D. = 0.65) 1.2) นักเรียนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ความต้องการจำเป็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.20, S.D. = 0.79) 1.3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น เพื่อกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ สร้างแผนการเรียนรู้ และสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) เนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 เรื่อง สถิติ 3 และความน่าจะเป็น (2) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้รูปแบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นที่ 4 รวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ความรู้ ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ และขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน (3) การพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ได้แก่ การแก้ปัญหา การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยง การให้เหตุผล และการคิดสร้างสรรค์ และ (4) แนวทางในการวัดและประเมินผล วัดผลและประเมินผลจากการปฏิบัติและประเมินตามสภาพจริง
2. ผลพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า 2.1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.67/81.22 และ 2.2) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.96/81.22 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ (X ̅ = 40.61, S.D. = 0.90) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ (X ̅ = 27.97, S.D. = 0.97) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.57, S.D. = 0.53)
4. ผลการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า หลังการใช้รูปแบบฯ ผู้วิจัยได้ร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญและคณะครูได้สะท้อนผลหลังการใช้รูปแบบฯ ให้ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรพัฒนา ตลอดจนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการคาดหวัง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญและคณะครูได้ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาในด้านการนำรูปแบบฯ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สะท้อนผล ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบฯ ในด้านต่าง ๆ ผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อ
พัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ