การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร
ผู้วิจัย นางสาวเพ็ญนภา กิจตรอง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 9 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน และหลังเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย t – test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.74/81.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ และการละคร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51)