การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร
โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้รายงาน ณิชาวีร์ สว่างพนาพันธุ์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ที่มุ่งประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) 2) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) 3) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และ 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) แบ่งเป็น การประเมินผลการดำเนินงาน (Output Evaluation) และการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 9 คน (ไม่รวมครูผู้รับผิดชอบโครงการ) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 61 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบท (Context Evaluation : C) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ฉบับที่ 4 ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ประเมินโดยคณะครูและผู้ปกครอง และแบบประเมินฉบับที่ 5 ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ประเมินโดยนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา (กองคำราษฎร์นุสรณ์) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D.= 0.45) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.72, S.D.= 0.49) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) ( = 4.68, S.D.= 0.51) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ( = 4.60, S.D.= 0.51) และด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ( = 4.51, S.D.= 0.29) ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D.= 0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความคาดหวังผลของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.79, S.D.= 0.48) รองลงมา คือ ด้านความจำเป็นของโครงการ ( = 4.74, S.D.= 0.49) ด้านความต้องการของโครงการ ( = 4.72, S.D.= 0.47) และด้านความเหมาะสมของโครงการ ( = 4.68, S.D.= 0.51) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D.= 0.51) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.74, S.D.= 0.54) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ( = 4.73, S.D.= 0.50) ด้านการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ( = 4.67, S.D.= 0.51) ด้านงบประมาณ ( = 4.54, S.D.= 0.51) และด้านการกำหนดคุณธรรมของนักเรียน ( = 4.61, S.D.= 0.51) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D.= 0.51) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมีการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.81, S.D.= 0.49) รองลงมา คือ ด้านมีการประชุมวางแผนการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ ( = 4.78, S.D.= 0.50) ขณะที่ ด้านมีการประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรค เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.42, S.D.= 0.59) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ประเมินโดย คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.29) และผ่านเกณฑ์การประเมิน