การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SMBLD)
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) เพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพของผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลบ้านกล้วย
ชื่อผู้วิจัย พัฒน์พงษ์ แสงสุพรรณ์
ปีที่ศึกษา 2565
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียน เป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) เพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพของผู้เรียน ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างเป็น ครู จานวน 70 คน นักเรียน จานวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานฯ แบบทดสอบ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นและการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ควรจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้ลงมือกระทาด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ มีความร่วมมือกันระหว่างนักเรียน อันจะนาไปสู่การสร้างความรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติในระหว่างการเรียนการสอน โดยการพูดและการฟัง การเขียน การอ่าน และการสะท้อนความคิด 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) เพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพของผู้เรียน ตามทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ใช้รูปแบบ "PDAOA Model" ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม การพัฒนาผู้เรียน การเรียนรู้โดยการลงมือกระทา การเผยแพร่ความรู้ และการประเมินผล 3) การทดลองใช้ โดยการ จัดอบรม พบว่า การทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.69 และ 17.29 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน พบว่า มีความต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ พบว่า (1) การประเมินระดับความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) อยู่ในระดับมาก (2) การประเมินทักษะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (3) การประเมินทักษะการปฏิบัติตามแนวทาง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก (4) การประเมินพฤติกรรมนักเรียนตามแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก (5) การประเมินความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมาก (6) การถอดบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ มุ่งให้มีบรรยากาศในการเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จาเป็น ได้แก่ทักษะการคิด การแก้ปัญหา การทางานเป็นทีม การอ่านโจทย์แล้วตีโจทย์ให้แตก เพื่อให้สามารถแก้ไขโจทย์ได้อย่างถูกต้อง
คำสำคัญ : การเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น/ทักษะด้านอาชีพ/ศตวรรษที่ 21