รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนา
ของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
ผู้วิจัย นางธมณ ชมภูวงค์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม 2) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 104 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม และผู้ปกครองเครือข่าย 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย บุคลากร จำนวน 104 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 104 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน 3) ครูใหญ่แต่ละระดับชั้น จำนวน 6 คน 4) ครูที่ปรึกษา จำนวน 51 คน 4) ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ คู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม แบบวิเคราะห์เครื่องมือ แบบสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องแบบประเมินรูปแบบการบริหาร แบบประเมินการฝึกอบรม แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ปรากฏผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม มีหลักการและองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การจัดทำรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม โดยคำนึงถึงความต้องการและความแตกต่างของผู้เรียน เน้นการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง องค์ประกอบทุกส่วนมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะที่สำคัญด้วยการฝึกอบรมและการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์กระบวนการของรูปแบบ มี 6 ขั้นตอน โดยผู้บริหารคอยกระตุ้น สร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจ ผลักดันและกำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเป็นผู้มีจิตใจงาม ความรู้ดี มีวินัย ใฝ่เสียสละ ตามคำขวัญของโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
2. ผลการพัฒนาและตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้ของรูปแบบ และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.80–1.00 ทั้งนี้ขั้นตอนรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model มีกระบวนการที่เป็นระบบเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สรุปได้ดังนี้
3.1 การประเมินพฤติกรรมทางคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน หลังการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.65 , S.D = 0.47) ยอมรับสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
3.2 การประเมินความรู้ ความเข้าใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model พบว่า ผู้บริหารและครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ โดยหลังการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model มีคะแนนสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม
3.3 การปฏิบัติงานตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคมของผู้บริหารสถานศึกษา ครูใหญ่แต่ละระดับชั้นและคณะครูในกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม การร่วมจัดกิจกรรมของโรงเรียนและการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.62 , S.D = 0.48)
3.4 การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ทั้งด้านความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและความสามารถในการพัฒนาโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.69 , S.D = 0.47) ยอมรับสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
3.5 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองเครือข่ายมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม TAFEDD Model อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.70 , S.D = 0.51) ยอมรับสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้