การพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมฯ
และเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน)
ชื่อผู้ศึกษา เกษมศรี ราษี
หน่วยงานที่สังกัด เทศบาลนครสมุทรสาคร
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ ในการพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) 2) พัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) 3) ทดลองใช้รูปแบบแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) และ 4) ประเมินผลของรูปแบบแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครู 15 คน นักเรียน 90 คน ผู้ปกครอง 90 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 คน และผู้แทนชุมชน 20 คน รวมจำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการการประชุม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
จากการวิเคราะห์ข้อมูล มีข้อค้นพบและสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ ในการพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) พบว่า มีขั้นตอนในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา โดยการศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและจำเป็น ผู้มีส่วนร่วมได้ทราบถึงการพัฒนารูปแบบ ภายใต้ หลักการ จุดประสงค์ กลไก การดำเนินการ วิธีดำเนินการ และการประเมินผล และเงื่อนไขของความสำเร็จ ร่วมวางแผนกำหนดแผนงานในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ประกอบด้วยการศึกษาดูงาน โรงเรียนต้นแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นสนทนาถึงสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการแนวทางการพัฒนา การแสวงหาความร่วมมือจากภายนอก ให้ความรู้การปฏิบัติงานของผู้ร่วมวิจัยมีความเข้าใจตรงกัน และได้แนวทางปฏิบัติการพัฒนาโดยผ่านการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ ทั้งมีวิธีการประเมินผลทำการกำกับติดตาม ประเมินผล การปฏิบัติตามกิจกรรมการการพัฒนาเป็นระยะ ๆ และได้ทำสรุปเพื่อจัดทำรายงาน/เผยแพร่ ขยายผลโดยการสรุปผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และรายงานผลต่อหน่วยงานต้นสังกัด
2. ผลการพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) สำรวจการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community: C) 2) สภาพปัญหาและความต้องการ (Assessing Need: A) 3) การวางแผน (Planning: P) 4) การปฏิบัติงาน (Doing: D) 5) การประเมินผล (Evaluation: E) และ 6) การรายงานผล/เผยแพร่ (Reporting: R) CAPDER Model ที่ประกอบด้วย ได้กำหนด หลักการ จุดประสงค์ กลไกการดำเนินการ วิธีดำเนินการ การประเมินผลและเงื่อนไขของความสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) จากการสังเกตและสัมภาษณ์ พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีขวัญกำลังใจในการดำเนินงาน ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำมากขึ้น ครูมีแนวทางและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและผู้เรียนได้รับพัฒนาการเรียนรู้ตลอดจนมีทักษะชีวิตที่ดีขึ้น
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน)
1) การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.59) อยู่ในระดับมากที่สุด
2) การมีทักษะชีวิตของผู้เรียน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar= 4.58) อยู่ในระดับมากที่สุด
3) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโกรกกราก (กรับวิทยาทาน) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.61) อยู่ในระดับมากที่สุด