การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน
โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง โดยใช้รูปแบบ CIPPO (CIPPO Model)
ผู้ศึกษา นายยุทธศักดิ์ หินนนท์
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโป (CIPPO Model) ใน 5 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้าน กระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) และด้านผลลัพธ์ (Outcome)
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 106 คน จำแนกเป็นครูและบุคลากร จำนวน 9 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของ ลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 5 ฉบับ
ผลการประเมินโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 สรุปผล ได้ดังนี้
1. สภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน ได้อย่างชัดเจน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีแผนการดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจน รองลงมา ได้แก่ เอกสารที่ใช้ในการดำเนินโครงการช่วยให้นักเรียน ได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นองค์รวมได้อย่างเหมาะสม ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอ
3. กระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงานโครงการสู่การปฏิบัติ รองลงมา ได้แก่ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม
4. ผลผลิต (Product) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริม
คุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คือผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องมีความตระหนักในการสร้างภูมิคุ้มกันตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน รองลงมา ได้แก่ จำนวนนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาลดลง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ผู้เรียนมีความพร้อมในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ โดยภาพรวม
5. ผลลัพธ์ (Outcome) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริม
คุณภาพชีวิตของนักเรียน คุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพ ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อย่างชัดเจน รองลงมา ได้แก่ สามารถนำหลักการของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานโดยใช้ช่องทางและวิธีการที่หลากหลาย
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
โรงเรียนบ้านนาปู–นากลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการดำเนินงานจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลนักเรียนที่เป็นปัจจุบัน ครูสามารถเข้าใจและรับรู้ปัญหาของนักเรียน นักเรียนมีโอกาสทำกิจกรรมตามความสามารถและความถนัดของตนเองและโรงเรียนสามารถให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ทันท่วงทีในกรณีที่พบเห็นนักเรียนประสบปัญหา แต่ก็ยังพบปัญหาในการดำเนินการอยู่หลายอย่างในการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากช่วงเวลาที่ผ่านมา พบข้อมูลนักเรียนมีปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ บิดามารดาต้องไปทำงานต่างพื้นที่ นักเรียนต้องอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง สภาพเช่นนี้ทำให้นักเรียนว้าเหว่ มีความรู้สึกขาดความอบอุ่น มีผลกระทบต่อด้านการเรียน ผลการเรียนตกต่ำ นักเรียนเหล่านี้ถ้าถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น การใช้สารเสพติด หรือ ไปเที่ยวเตร่มั่วสุม อาจคล้อยตามได้ง่าย
จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านนาปู–นากลางจึงหาวิธีที่จะช่วยเหลือและป้องกันปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข จึงถือเป็นภาระงานสำคัญที่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน มีกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ประสานความร่วมมือจากครูและบุคลากร ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาปู–นากลาง ให้เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ด้วยความรักความเมตตาต่อศิษย์ ผลจาการดำเนินงานจากความร่วมมือของทุกฝ่าย จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เจริญเติบโต เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป
การประเมินโครงการนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการดำเนินโครงการ ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนโครงการ ตรวจสอบความพร้อมของทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ ตลอดจน ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ช่วยทำให้การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน ช่วยในการจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ (สมคิด พรมจุ้ย. 2552 :30) และช่วยให้ได้ข้อมูลป้อนกลับจากผู้รับบริการ ข้อมูลประเภทนี้ทำให้เราทราบถึงข้อจำกัดและปัญหาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อนำมาปรับปรุงโครงการ ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ รวมถึงทราบผลผลิตของโครงการทั้งในด้านที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ควบคู่กันไป (เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี.2551 : 93 –95) โดยเฉพาะรูปแบบการประเมิน CIPPO Model ที่เป็นส่วนปรับขยายของรูปแบบการประเมิน CIPP โดยที่ส่วนขยายของมิติการประเมินที่เพิ่มขึ้นนี้ มีความหมายครอบคลุมรวมถึงการประเมินผลผลิตเดิมและการประเมินผลลัพธ์ (รัตนะ บัวสนธ์. 2556 : 23) ซึ่งเป้าหมายของการประเมินตามรูปแบบนี้มุ่งให้ประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) ก่อน อาจทำหลายครั้ง จึงทำการประเมินสรุปรวม (Summative Evaluation) ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ
จากเหตุผลและความสำคัญในข้างต้น ประกอบกับการศึกษารายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู–นากลาง ซึ่งมีการรายงานผลการดำเนินงานในด้านกระบวนการและด้านผลผลิตเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการรายงานผลในภาพรวม ข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จึงไม่เพียงพอ สำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน ในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาโครงการในระดับโรงเรียน ผู้รายงานในฐานะผู้บริหารโรงเรียนบ้านนาปู–นากลาง จึงสนใจที่จะทำการศึกษาประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู–นากลาง โดยใช้การประเมินรูปแบบ CIPPO (CIPPO Model) เนื่องจากเป็นการประเมินที่มีวิธีการดำเนินการอย่างชัดเจนเป็นระบบ เพื่อจะได้สารสนเทศจากการประเมินเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการและเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและขยายผลโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังต่อไปนี้
5.1.1 เพื่อประเมินความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง (Context) กับการดำเนินโครงการ
5.1.2. เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้า (Input) ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
5.1.3. เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงาน (Process) ของโครงการ
5.1.4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการ
5.1.5 เพื่อประเมินผลลัพธ์ (Outcome) จากการดำเนินโครงการ
แหล่งข้อมูลและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1. แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู- นากลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 รวมทั้งสิ้น 106 คน ดังนี้
1.1 ครูและบุคลากร จำนวน 9 คน
1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
1.3 ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านนาปู–นากลาง จำนวน 90 คน
2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวนทั้งสิ้น 106 คน โดยใช้ประชากรเป็นหน่วยในการวิเคราะห์
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน เป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 5 ชุด ดังนี้
ชุดที่ 1 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
ชุดที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) ข้อคำถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
ชุดที่ 3 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process) ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
ชุดที่ 4 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อผลผลิตของโครงการ (Products) ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้
ตอนที่ 4.1 ความคิดเห็นของครูและบุคลากร มีต่อผลผลิตของโครงการ (Products) จำนวน 12 ข้อ
ตอนที่ 4.2 ความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีต่อผลผลิตของโครงการ (Products) จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 4.3 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีต่อผลผลิตของโครงการ (Products) จำนวน 9 ข้อ
ชุดที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ ข้อคำถาม
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้
ตอนที่ 5.1 ความคิดเห็นของครูและบุคลากร มีต่อผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ จำนวน 19 ข้อ
ตอนที่ 5.2 ความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีต่อผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 5.3 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีต่อผลลัพธ์ (Outcome)
ของโครงการ จำนวน 11 ข้อ
สรุปผลการศึกษา
ผลการประเมินโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
5.5.1 สภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน ได้อย่างชัดเจน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ต้นสังกัด
5.5.2 ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีแผนการดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจน รองลงมา ได้แก่ เอกสารที่ใช้ในการดำเนินโครงการช่วยให้นักเรียน ได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นองค์รวมได้อย่างเหมาะสม ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอ
5.5.3 กระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงานโครงการสู่การปฏิบัติ รองลงมา ได้แก่ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีการกำหนด หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม
5.5.4 ผลผลิต (Product) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อ
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องมีความตระหนักในการสร้างภูมิคุ้มกันตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน รองลงมา ได้แก่ จำนวนนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาลดลง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ผู้เรียนมีความพร้อมในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ โดยภาพรวม
5.5.5 ผลผลิต (Product) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อ
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ กรรมการสถานศึกษา มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน รองลงมา ได้แก่ นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ครูทุกคนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจหลักการดำเนินงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจนประสบผลสำเร็จ
5.5.6 ผลผลิต (Product) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อ
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ผู้ปกครองทุกคน มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน รองลงมา ได้แก่ นักเรียน ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สถานศึกษามีชื่อเสียงจากการเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน
5.5.7 ผลลัพธ์ (Outcome) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ
เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน คุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุด ได้แก่ นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพ ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ อย่างชัดเจน รองลงมา ได้แก่ สามารถนำหลักการของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานโดยใช้ช่องทางและวิธีการที่หลากหลาย
5.5.8 ผลลัพธ์ (Outcome) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ
เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน คุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน รองลงมา ได้แก่ การดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน มีความสอดคล้องร้อยรัดกับนโยบายในระดับต่าง ๆ และเป็นไปตามความต้องการของสังคมและชุมชน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้หรือขยายองค์ความรู้จากการร่วมกิจกรรมโครงการ ไปสู่ครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
5.5.9 ผลลัพธ์ (Outcome) จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ
เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน คุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนมีความสอดคล้องร้อยรัดกับนโยบายในระดับต่าง ๆ และเป็นไปตามความต้องการของสังคมและชุมชน รองลงมา ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้หรือขยายองค์ความรู้จากการร่วมกิจกรรมโครงการ ไปสู่ครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
ข้อเสนอแนะ
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ผลการดำเนินงานครบถ้วนทุกขั้นตอนอย่างมีคุณภาพ แต่ยังมีบางขั้นตอนควรมีการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ
5.7.1ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่องเพราะถือว่า เป็นโครงการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้ได้รับการพัฒนารอบด้านอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยการได้เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมย่อยต่างๆ ต้องมีการปฏิบัติต่อเนื่องกันหลายๆ ปี
2. โรงเรียนควรให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน ให้ได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านและเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
3. โรงเรียนควรประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน
5.7.2 ข้อเสนอแนะจากการประเมินโครงการ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้
1.1 จากผลการประเมิน พบว่า การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปู-นากลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมินจึงควรมีการนำผลการประเมินในการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศ สำหรับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 จากผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า อยู่ในระดับมาก แต่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดในการประเมินทั้ง 4 ด้าน จึงควรนำผลการศึกษาด้านปัจจัยนำเข้ามาวิเคราะห์และวางแผนพัฒนา แก้ไขปัญหาในระดับสถานศึกษาและในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเกิดผลที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
1.3 ผลจากการใช้รูปแบบการประเมินที่ทำการศึกษานี้ ช่วยให้ได้สารสนเทศสำคัญ ในการพัฒนาและปรับปรุงโครงการ จึงควรนำรูปแบบการประเมินดังกล่าวไปใช้ในการประเมินโครงการอื่น ๆ เพื่อที่จะส่งผลให้โครงการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
2. ข้อเสนอแนะเพื่อทำการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของโรงเรียนที่ดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำกระบวนการดังกล่าวมาใช้เป็นต้นแบบ ในการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพ
2.2 ควรมีการศึกษาความคงทนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโครงการในระดับสถานศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
2.3 ควรมีการประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินอื่น ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่หลากหลาย สำหรับนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล