การพัฒนาทักษะอาชีพแต่งหน้าทำผม
ผู้สอนจึงมีความคิดที่จะเพิ่มเติมในส่วนของการฝึกทักษะปฏิบัติให้ผู้เรียนเพิ่มเติม ที่นอกเหนือจากความรู้ด้านศิลปการแสดง คือการแต่งหน้าและทำผม ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ ๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการแต่งหน้าทำผมสำหรับการแสดง ๒. นักเรียนมีทักษะปฏิบัติด้านการแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดง ๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖ ในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแต่งหน้าทำผมนั้นผู้เรียนสามารถที่จะนำไปต่อยอดได้และสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เรียนในอนาคตอย่างแน่นอน ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจะให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการ ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับการ แต่งหน้าและการทำผมในรูปแบบต่างๆ แล้วจะสอนเรื่องของทักษะปฏิบัติในด้านนั้นๆ การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยช่างแต่งหน้าทำผมมืออาชีพ เมื่อสอนเสร็จแล้วผู้เรียนจะต้องมีการฝึกปฏิบัติ โดยมีทั้งการแต่งหน้าตนเองเพื่อเสริมบุคลิกภาพ จับคู่แต่งให้เพื่อน การฝึกสร้างรอยบาดแผลบนร่างกาย ใบหน้า การแต่งหน้าคนแก่ การฝึกการเกล้าผม ออกแบบทรงผมในงานต่างๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำทักษะปฏิบัติต่างๆที่ได้เรียน มาบูรณาการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การเป็นทีมแต่งหน้าให้นักแสดงในงานต่างๆของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนเช่นนี้จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่มีแค่ความรู้ แต่เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นเอง ซึ่งผลจากการเรียนการสอนนักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็น ๑๐๐ เปอเซ็นต์ นักเรียนทุกคนสามารถแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดงได้ คิดเป็น ๑๐๐ เปอเซ็นต์ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๕ และนักเรียนมีข้อแสดงความคิดเห็นว่าสามารถนำไปใช้แต่งหน้าเพื่อเสริมบุคลิกภาพความมั่นใจให้กับตนเองได้ และจะฝึกฝนบ่อยๆจะได้นำไปประกอบอาชีพได้
๓. ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
(ระบุเหตุผล ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการ แนวคิด หลักการสำคัญในการออกแบบผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ)
สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากในอดีตมาก โลกมีการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร สังคม การปกครอง เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะ ความรู้ นำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและนำความรู้ที่ได้มาต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ในอนาคต การพัฒนาทักษะความรู้จำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้จบมาเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต บ่มเพาะความคิด การเรียนรู้ที่ปลูกฝังให้มีจิตสาธารณะ เป็นคนที่พึ่งพาตัวเองได้และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีความสมดุลในชีวิตคือมีทั้งความรู้และศีลธรรม
ในด้านการสอนควรเน้นการลงมือทำปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะต้องไปจดจำเนื้อหาในห้อง เป็นการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างเพื่อนกับครูในชั้น เป็นการเรียนรู้ที่รวดเร็ว หากสงสัยตรงไหนก็สามารถถามได้เลย เพราะในโลกทุกวันนี้สังคมเปิดรับ เปิดกว้างมากขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่มีแค่ความรู้ แต่เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นเอง
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ได้กล่าวถึงทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ เป็นความสามารถในการนำเอากระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพอย่างซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม การบริหารเวลาอย่างชาญลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานปรับตัวอยู่ในภาวการณ์แข่งขันสูงในโลกปัจจุบันได้ทุกสถานการณ์อย่างมีคุณธรรมนำชีวิต
ในรายวิชาเพิ่มเติม ศิลปศึกษา ๖ (ศ๓๐๒๐๖) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับศิลปะเพื่อการแสดง รวมถึงทักษะในด้านการแสดงโดยเฉพาะการแต่งหน้า การจัดแต่งทรงผม และการทำอุปกรณ์ประกอบการแสดง เพื่อให้นักเรียนสามารถที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือรวมถึงการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนได้ในอนาคต
๔. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
(ระบุจุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานอย่างชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาความต้องการจำเป็น)
๔.๑ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการแต่งหน้าทำผมสำหรับการแสดง
๔.๒ นักเรียนมีทักษะปฏิบัติด้านการแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดง
๔.๓ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖
๕. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
(ระบุกระบวนการ หรือวิธีการในการผลิต การนำไปใช้ และการพัฒนาผลงาน โดยมีขั้นตอนต่อเนื่องสัมพันธ์กันและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์)
๕.๑ จัดทำโครงการสอนรายวิชาศิลปศึกษา
๕.๒ จัดทำแผนการสอนรายวิชาศิลปศึกษา
๕.๓ ครูสอนทักษะปฏิบัติด้านอาชีพแต่งหน้าทำผม โดยหลักทฤษฎีและทักษะปฏิบัติ
๕.๔ นักเรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติ
๕.๕ นักเรียนออกแบบและปรับประยุกต์ใช้ด้วยตนเอง
๖. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
(ระบุผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากการนำไปใช้ คุณค่าของผลงาน/นวัตกรรม ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน และประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน/นวัตกรรม)
๖.๑ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการแต่งหน้าทำผมสำหรับการแสดงคิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซนต์
๖.๒ นักเรียนมีทักษะปฏิบัติด้านการแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดง คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซนต์
๖.๓ นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมากต่อการเรียนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๕
๖.๔ นักเรียนสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างอาชีพและเกิดรายได้อย่างมั่นคง
๗. ปัจจัยความสำเร็จ
(ระบุบุคคล / หน่วยงาน / องค์กร หรือ วิธีการที่ช่วยให้งานประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพของผลงาน/นวัตกรรม)
๗.๑ ผู้บริหารโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
๗.๒ คณะครูและบุคลากรโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
๗.๓ ผู้ปกครองนักเรียน
๘. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
(ระบุข้อสรุป ข้อสังเกต /ข้อเสนอแนะ และข้อควรระวัง ที่เป็นแนวทางในการนำผลงานไปใช้/ พัฒนาต่อ หรือดำเนินการให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นต่อไป)
๘.๑ นักเรียนให้ความสนใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริง
๘.๒ ในการนำผลงานนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ ครูผู้สอนจำเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถในด้านการแต่งหน้าทำผมได้หลากหลายรูปแบบ เพราะจะต้องสามารถทำให้นักเรียนดูได้และสามารถสอนเทคนิคต่างๆเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘.๓ ในด้านของการนำไปพัฒนาต่อครูผู้สอนอาจจะเพิ่มเติมในเรื่องของการฝึกทำอุปกรณ์หรือการออกแบบชุดการแสดงที่หลากหลาย