การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด AL ร่วมกับ KWDL ทางคณิต
ผู้วิจัย นางรวีวิรุฬห์ แสนทิพย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานนะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหา และ ความต้องการ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพ ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และระยะที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มทดลองใช้ (Try out) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ และกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1/1 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ที่เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 8 แผน ใช้เวลาสอน จำนวน 16 ชั่วโมง และเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสม ของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของเอกสารประกอบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t - test Dependent)
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะ ในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ตามลำดับ ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ในการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แยกได้ ดังนี้
1.1 ความคิดเห็นของครูสาขาคณิตศาสตร์ต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 3 ต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ อยู่ในระดับมาก
1.3 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ อยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน (Show & Share: S) ขั้นที่ 2 ทบทวนความรู้เดิม (Prior Knowledge: P) ขั้นที่ 3 เติมความรู้ใหม่ (Add new Knowledge: A) ซึ่งประกอบด้วยขั้นย่อย คือ K คือ บอก W คือ ถาม D คือ ตอบ L คือ รู้ ขั้นที่ 4 สะท้อนความรู้ (Reflect: R) ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing: K) ขั้นที่ 6 สรุปและประเมินผล (Sumarize and Evaluate: S) 4) การวัดผลและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญ ในการนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ ให้ประสบผลสำเร็จ โดยรูปแบบมีคุณภาพเหมาะสมตามความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.61/77.89 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6232
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.75/78.39 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6307 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถ ในทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหาหลังเรียน ตามรูปแบบการจัด การเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยดำเนินการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบที่พัฒนาขึ้นให้มีความสมบูรณ์ โดยสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ให้เหมาะต่อการเรียนมากขึ้น โดยมีการเพิ่มป้ายนิเทศความรู้ในด้านการเรียน คิดแก้ปัญหา ให้นักเรียน รู้และเข้าใจถึงเทคนิคมากขึ้น ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเวลาและเป็นประโยชน์ กับนักเรียน และต้องควบคุมเวลาให้เคร่งครัด เนื่องจากบางกิจกรรมใช้เวลาในการลงมือปฏิบัตินาน ทำให้ความเหมาะสมของเวลาไม่สมดุลกับกิจกรรม และให้ครูผู้สอนทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษาแนะนำที่เป็นประโยชน์ ให้การชี้แนะในการที่นักเรียนจะเรียนรู้ในทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา เนื่องจากนักเรียนอาจมีการสับสนกับเนื้อหาในกิจกรรม การเรียนรู้ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมลดลง