LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

วิเชฐชัย ไชยทุม

usericon

การพัฒนาทักษะวิชาการ ทางภาษาไทย เรื่อง การเขียนพยัญชนะไทย ของนักเรียนออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน
Development of Academic Skills in Thai Language on Writing Thai Consonants of students with autism special education center Roi Et Province by using writing skill exercises
วิเชฐชัย ไชยทุม
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจัวหวัดร้อยเอ็ด
Wichetchai Chaiyatumn
Roi Et special education center,Thailand
Corresponding Author, E-mail : wichetchai88@gmail.com
********
บทคัดย่อ*
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะวิชาการทางภาษาไทย เรื่อง การเขียน ของนักเรียนออทิสติกศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดร้อยเอ็ดให้ผ่านเกณฑ์ระดับดี2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนห้องเตรียมความพร้อม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการ เรียนรู้ร่วมกับแบบฝึกทักษะการเขียน จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบการเขียนความเรียงก่อนและหลังเรียน โดยใช้จากแบบฝึกการเขียน 3) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดการเรียนรู้การเขียนก่อนและหลังเรียนพบว่า ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.17 คะแนน และหลัง เรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.17 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังสอบของนักเรียน พบว่า สูงกว่าก่อนเรียน
คำสำคัญ : แบบฝึกการเขียน





Abstracts
The objectives of this research were 1) to develop academic skills in Thai language on writing of autistic students at the Roi Et Special Education Center to pass the good level;2) to compare the ability to write Thai consonants before school and after school The sample used in the research were students from the preparatory room. special education center Roi Et Province, 1 person by specific selection The tools used in the research were 1) 3 plans of learning management plans combined with writing skills exercises, 2) pre- and post-learn essay writing tests. 3) Statistics used in the research were basic statistics, mean values.The results of the research were as follows: 1) the writing learning management before and after learning Before studying had an average of 2.17 points and after studying had an average of 3.17 and when comparing students' post-test scores, it was found that they were higher than before.
Keywords: writing exercises

บทนำ
ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติ ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ต่อกัน ใช้ในการประกอบกิจธุระ ทำงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม และยังใช้ในการหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ การวิจารณ์ และสร้างสรรค์ ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพอีกด้วย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) จะเห็นได้ว่าภาษาไทยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก กลุ่มสาระภาษาไทยเป็นกลุ่มสาระสำคัญที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร และต้องฝึกให้เกิดทักษะความชำนาญ เพื่อการนำไปใช้อย่างถูกต้อง การเรียนการสอนภาษาไทย จะมุ่งเน้นการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด นอกจากนั้นแล้ว หลักการใช้ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพื่อเพิ่มพูนทักษะของผู้เรียน
การเขียน เป็นทักษะที่มีความสำคัญในการทำงานค่อนข้างมาก เป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้และความคิด เพื่อไปยังผู้อื่นได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเป็นหลักฐานในการศึกษาได้อย่างยาวนาน หลักการเขียนที่ดี ประกอบด้วย งานเขียนจะต้องมีความถูกต้อง มีความชัดเจน มีความกระชับและเรียบง่าย มีความประทับใจ มีความไพเราะทางภาษา และมีความรับผิดชอบ (เสนีย์ วิลาวรรณ, 2547) นอกจากนั้นจากความหมายของราชบัณฑิตยสถาน การเขียน คือ “การขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ การวาด หรือการแต่งหนังสือ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554) ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะการเขียน คือ การสอนให้นักเรียนสามารถเขียนตัวหนังสือได้นั่นเอง
สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และซับซ้อนมากขึ้น มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารทั้งด้านการงาน การติดต่อสื่อสารและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม สังคมในหลายมิติจะเป็นสังคมฐานความรู้และสังคมฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ หลายประเทศจะมีการรวมตัว ร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และสังคม แนวโน้มของคนยุคใหม่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย ประเทศต้องปฎิรูปการศึกษา เนื่องจากคุณภาพของการศึกษาเป็นตัวบ่งชี้สำคัญประการหนึ่งสำหรับความพร้อมในการเข้าสู่สังคม ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องเตรียมคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและความสามารถในการปรับตัวและมีคุณลักษณะสำคัญในการดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่อย่างมีคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนจึงมีความสำคัญ ทำให้การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกออทิสติกได้ปรับเปลี่ยนจากเดิมด้วย เช่น การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ/กระบวนการ การประยุกต์ใช้ การปฏิบัติ และการประเมินพัฒนาการ เป็นต้น การสอนให้นักเรียนที่มีความบกพร่องที่เป็นบุคคลออทิสติกให้ประสบผลสำเร็จได้ จะต้องอาศัยความพยายามของครูผู้สอน และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเด็กทั่วไป เนื่องจาก เด็กกลุ่มนี้จะได้รับผลสำเร็จในการเรียนน้อยกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกันอย่างชัดเจน และประสบความสำเร็จน้อยกว่าระดับอายุสมองของเขาอีกด้วย (ชูชีพ อ่อนโคกสูง, 2549) เด็กออทิสติกจะมีข้อจำกัดทางด้านภาษา ทำให้มีปัญหาทางการติดต่อสื่อสาร อีกทั้งการทำงานของกล้ามเนื้อนิ้วมือของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว จะมีพัฒนาการที่ด้อยกว่าปกติ ปัญหาเรื่องการเขียนเป็นปัญหาที่นักเรียนออทิสติกประสบปัญหาเป็นอย่างมาก (ผดุง อารยะวิญญู, 2541) ซึ่งตรงกับปัญหาที่ครูผู้สอนสังเกตเห็นจากการเรียนการสอนนักเรียนออทิสติก คือ นักเรียนไม่สามารถเขียนพยัญชนะไทยแบบไม่มีรอยประได้ เนื่องจากภาวะทางสมองมีการพัฒนาช้า บางคนมีปัญหาสายตา บางคนถนัดมือซ้าย บางคนกล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรงและส่วนใหญ่เคยชินกับการเขียนตามรอยประ สำหรับบางคนที่เขียนพอได้ก็จะมีการเขียนหัวกลับทาง มีการลากเส้นไม่ตรง การเขียนติดขัด ไม่ต่อเนื่องเป็นเส้นเดียวที่สวยงาม
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ทำหน้าที่บริหารจัดการการศึกษาเพื่อคนพิการ ทำหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการ และครอบครัว และเตรียมความพร้อมแก่คนพิการ รวมทั้งการดำเนินการคัดแยก ฟื้นฟูสมรรถภาพ และส่งต่อคนพิการไปยังสถานศึกษา การจัดการศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นการจัดให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการและครอบครัว และเตรียมความพร้อมแก่เด็กพิการวัยก่อนเข้าเรียนหรือผู้พิการภายหลังก่อนส่งกลับไปเรียนร่วม โดยศูนย์การศึกษาระดับจังหวัดตามจุดเน้นของหลักสูตรและตามความเหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
โดยผู้วิจัยได้ศึกษาปัญหาจากการสอนนักเรียนออทิสติกห้องเรียนเตรียมความพร้อม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดพบว่านักเรียนห้องเรียนเตรียมความพร้อมเป็นห้องเรียนที่จะเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนทุกๆด้านให้มีความพร้อมที่จะส่งต่อให้กับห้องเรียนหรือโรงเรียนปกติยังมีปัญหาและความบกพร่องโดยเฉพาะทักษะการเขียน
จากสภาพปัญหาดังกล่าววิจัยได้ศึกษาวิธีการและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาทักษะการเขียนของผู้เรียนได้ เช่น การเรียนรู้โดยใช้เกมและเพลง การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเพื่อใช้ในการพัฒนาเรื่องการเขียนเพื่อแก้ไขปัญหาทักษะการเขียนของนักเรียนให้เกิดการพัฒนาการเขียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะวิชาการทางภาษาไทย เรื่อง การเขียน ของนักเรียนออทิสติกศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดให้ผ่านเกณฑ์ระดับดี
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน

ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยนี้เป็นวิจัยทดลอง (Experimental Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินตามระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1. ประชากร คือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนออทิสติกห้องเรียนเตรียมความพร้อม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน
1.2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนออทิสติกห้องเรียนเตรียมความพร้อม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
2.1. แบบทดสอบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทย
2.2 แบบฝึกทักษะ
เครื่องมือและการพัฒนาเครื่องมือ
3.3.1    แบบทดสอบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทย มีลำดับขั้นตอนการสร้างดังนี้
3.3.1.1    ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและข้อบกพร่องในการเรียน
3.3.1.2    นำปัญหาและข้อบกพร่องของการเขียนมาออกแบบทดสอบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทย
3.3.1.3    นำแบบทดสอบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยมาทดสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคล โดยกำหนดเกณฑ์ดังนี้
1)    ลากเส้นได้อย่างถูกต้อง ไม่กลับทิศทาง
2)    เส้นคมชัด สม่ำเสมอ
3)    เขียนพยัญชนะในลักษณะแบบในลักษณะแบบเดียวกันหรือถูกต้องตามแบบ
4)    ความสะอาดเรียบร้อยในการเขียน
3.3.1.4    การทดสอบและเกณฑ์การให้คะแนน มีเกณฑ์ดังนี้
     ระดับคุณภาพ
    4 หมายถึง ดีเยี่ยม
    3 หมายถึง ดี
    2 หมายถึง พอใช้
    1 หมายถึง ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน มากกว่าหรือเท่ากับระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป
3.3.2    แบบฝึกทักษะ ได้ดำเนินการสร้างตามวิธีต่อไปนี้
3.3.2.1    ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับเส้นพื้นฐานในการเขียนพยัญชนะ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเขียนพยัญชนะ
3.3.2.2    ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกการเขียน
3.3.2.3    สร้างแบบฝึกการเขียน ตามแผนจัดการเรียนรู้ ดังนี้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หลักการเขียนเส้นพื้นฐานตัวพยัญชนะไทย (ใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอน 8 ชั่วโมง)
        การเขียนเส้นดิ่ง
        การเขียนเส้นตั้ง
        การเขียนเส้นทแยงลง
        การเขียนเส้นทแยงขึ้น
        การเขียนเส้นทแยงขึ้นและเส้นทแยงลงต่อเนื่องกัน
        การเขียนเส้นแนวนอน
        การเขียนเส้นโค้งคว่ำ
        การเขียนเส้นโค้งหงาย
        การเขียนเส้นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา
        การเขียนเส้นวงกลมตามเข็มนาฬิกา






แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หลักการเขียนหัวตัวพยัญชนะไทย (ใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอน 8 ชั่วโมง)
        การเขียนหัวขมวด    
        การเขียนหัวแตก    
        การเขียนหัวทางขวาบน    
        การเขียนหัวทางขวากลาง    
        การเขียนหัวทางขวาล่าง    
        การเขียนหัวทางซ้ายบน    
        การเขียนหัวทางซ้ายกลาง    
        การเขียนหัวทางซ้ายล่าง    
        การเขียนหัวนอน    

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
การเขียนพยัญชนะไทย ก – ฮ ชนิดมีรอยประและมีลูกศรบอกทิศทางบางตัว
(ใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอน 24 ชั่วโมง)

ที่    แบบฝึกที่1    พยัญชนะ    
        พยัญชนะ ก    
        พยัญชนะ ข    
        พยัญชนะ ฃ    
        พยัญชนะ ค    
        พยัญชนะ ฅ    
        พยัญชนะ ฆ    
        พยัญชนะ ง    
        พยัญชนะ จ    











ที่    แบบฝึกที่2    พยัญชนะ    
2        พยัญชนะ ฉ    
        พยัญชนะ ช    
        พยัญชนะ ซ    
        พยัญชนะ ฌ    
        พยัญชนะ ญ    
        พยัญชนะ ฎ    
        พยัญชนะ ฏ    
        พยัญชนะ ฐ    
3    แบบฝึกที่3    พยัญชนะ ฑ    
        พยัญชนะ ฒ    
        พยัญชนะ ณ    
        พยัญชนะ ด    
        พยัญชนะ ต    
        พยัญชนะ ถ    
        พยัญชนะ ท    
        พยัญชนะ ธ    
4    แบบฝึกที่4    พยัญชนะ น    
        พยัญชนะ บ    
        พยัญชนะ ป    
        พยัญชนะ ผ    
        พยัญชนะ ฝ    
        พยัญชนะ พ    
        พยัญชนะ ฟ    
        พยัญชนะ ภ    












ที่    แบบฝึกที่5    พยัญชนะ    
5        พยัญชนะ ม    
        พยัญชนะ ย    
        พยัญชนะ ร    
        พยัญชนะ ล    
        พยัญชนะ ว    
        พยัญชนะ ศ    
        พยัญชนะ ษ    
        พยัญชนะ ส    
6    แบบฝึกที่5    พยัญชนะ ห    
        พยัญชนะ ฬ    
        พยัญชนะ อ    
        พยัญชนะ ฮ    

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินการทดลอง
1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) ใช้แบบทดสอบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยแบบโดยนำมาจากแบบฝึกทักษะจำนวน 6 ชุด
2. ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนจำนวน 3 แผนการเรียนรู้
3. ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ใช้แบบทดสอบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยแบบโดยนำมาจากแบบฝึกทักษะจำนวน 6 ชุด

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบก่อนเรียนหลังเรียนโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยแปลความหมายคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้




ผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะวิชาการทางภาษาไทย เรื่อง การเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนออทิสติกศูนย์การรศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.    การศึกษาความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนออทิสติกศูนย์การรศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดหลังการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
2.    การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนออทิสติกศูนย์การรศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนและหลังการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ

การศึกษาความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดก่อนและหลังการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
ตารางแสดง จำนวนคะแนน ของความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนออทิสติก จากการใช้แบบฝึกทักษะ

แบบฝึกที่    คะแนนความสามารถการเขียนพยัญชนะไทยก่อนการสอน    ระดับ    คะแนนความสามารถการเขียนพยัญชนะไทยหลังการสอน    ระดับ    ผลต่างของคะแนน

1    3    ดี    4    ดีเยี่ยม    1
2    2    พอใช้    3    ดี    1
3    1    ปรับปรุง    2    พอใช้    1
4    3    ดี    4    ดีเยี่ยม    1
5    2    พอใช้    3    ดี    1
6    2    พอใช้    3    ดี    1
    2.17
พอใช้    3.17
ดี    

จากตารางที่ แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียน ออทิสติก หลังการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดี โดยก่อนการสอนมีผลคะแนนเฉลี่ยที่ 2.17 คะแนน มีความสามารถในการเขียนภาษาไทยอยู่ในระดับพอใช้ หลังการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ นักเรียนมีผลมีคะแนนเฉลี่ยที่ 3.17 คะแนน มีความสามารถในการเขียนภาษาไทยอยู่ในระดับดี




ภาพแสดง แผนภูมิแสดงคะแนนในการทดสอบก่อน (น้ำเงิน) และหลังเรียน (ส้ม) ของนักเรียนของนักเรียนออ ทิสติก
ข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 ผู้ที่จะนำแบบฝึกทักษะการเขียนที่ผู้ทำวิจัยสร้างขึ้นไปใช้ จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือการใช้ ศึกษาวิธีการฝึก และปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแบบฝึก
1.2 ผู้สอนควรสนับสนุนและให้แรงเสริมนักเรียน ในการทำแบบฝึก เมื่อนักเรียนเขียนพยัญชนะไทยได้ถูกต้อง
1.3 ผู้สอนควรส่งเสริมให้นักเรียนเขียนเป็นคำ
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัย
2.1 ควรนำวิธีการสอนที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียน ไปทดลองกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษประเภทอื่น ๆ
2.2 เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยต่อไป
เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฐานพุทธศักราช 2544.กรุงเทพฯ:โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าว.
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือครูสําหรับผู้ที่มีวามบกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรรณิการ์ พวงเกษม. (2531). ปัญหาและกลวิธีการสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
กองเทพ เคลือบพณิชกุล.(2544). การเขียนเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
กำชัย ทองหล่อ. (2540). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครังที่ 10. กรุงเทพฯ: บํารุงสาส์น.
เกศสุคนธ์ แม้นมณี. (2546). การศึกษาความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ระดับฝึกได้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ..
ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างหลังความสามารถแห่งตน เป้าหมายและความเป็นไปได้ที่จะกระทำกับแรงจูงใจในการเรียน. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ดวงเดือน อ่อนน่วม และคณะ. (2536). เรื่องน่ารู้สําหรับครูคณิตศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
นริศรา มีมงคล. (2545). การสร้างแบบฝึกทักษะด้านการเขียนเพื่อใช้ในการสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม (การประถมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิธิมา หาญมานพ. (2541). การสร้างชุดการสอนศัพท์ด้วยเกมสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับก่อนประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรัชญา อาภากุล และ การุณัทน์ รัตน์แสนวงษ์. (2541). ศิลปะการใช้ภาษา การพูด การเขียน. (เอกสารประกอบการสอน). กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานทั่วไป. คณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปรีชา ทิชินพงศ์. (2542).เอกสารประกอบการสอนวิชา ทย.101. สงขลา:คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.
เปรมจิต ศรีสงคราม. (2534). การเขียนทั่วไป .กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูจันทร์เกษม.
ผดุง อารยะวิญญู. (2535). การสร้างเครื่องมือเพื่อคัดแยกเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรูู้.กรุงเทพฯ :ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ผดุง อารยะวิญญู. (2541). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: P.A. Art & Print Co., Ltd.
เพ็ญศรี วงศ์ไวโรจน์. (2534). การสร้างแบบฝึกคัดลายมือ เพื่อพัฒนาคุณภาพลายมือของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองต้นนุ่น กรุงเทพฯ . ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การ ประถมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาโนช หล่อตระxxxล. (2544). คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ลำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.
เยาวลักษณ์ วรรณม่วง. (2544). การศึกษาความสามารถในการจําพยัญชนะไทยของเด็กทีมีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัศมี กุลวงศ์. (2549). ผลของการใช้เทคนิคระดมสมองและผังความคิดที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. เล่ม 124 ตอนที่ 61 ก.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: กองศิลปกรรม.
โรจนา แสงรุ่งรวี. (2531). ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคําด้วยการใช้แบบฝึกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .ปริญญานิพนธ์ ค.ม. (การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา). กรุงเทพ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณี โสมประยูร. (2537). ความยากง่ายในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (การประถมศึกษา). วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วีระ ไทยพาณิช. (2528). โสตทัศนศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวืทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิลา จานียโยธิน. (2507). ลายมือและการคัดลายมือ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษา.
สถาบันราชานุxxxล. (2019). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อน. Retriend March 20, 2020, From: https://th.rajanukul.go.th/preview-4009.html
สนิท ตั้งทวี. (2538). ความรู้และทักษะทางภาษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมบูรณ์ ทินกร. (2535). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถและความซื่อสัตย์ในการเขียนสะกดคําภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคํากับการใช้แบบฝึกหัดตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2538). คู่มือครูการดําเนินการสํารวจเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.royin.go.th/dictionary/ [๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓].
สุขพัชรา ซิ้มเจริญ. (2542). คู่มือการเรียนร่วมสาหรับครูแกนนา ที่สร้างนักเรียนร่วมกับเด็ก ที่มคี วามบกพร่องทางสติปัญญา. หน่วยศึกษานิเทศก์. กรมสามัญศึกษา.
สุภาพ ช่างสอน. (2549). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามรูปแบบการเรียนการสอนแยยซินเนคติดส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
เสนีย์ วิลาวรรณ. (2547). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน "พัฒนาทักษะภาษา" เล่ม 3 (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช, หน้า 156-159
แสงเพชร เจริญราษฎร์. (2546). การสร้างชุดการสอนอ่านคําศัพท์ภาษาไทยแบบ WBI สําหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ในศูนย์การศึกษาพิเศษสถาบันราชภัฎนครราชสีมา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หรรษา บุญนายืน. (2546). การศึกษาความสามารถทางการเขียนสะกดคํายากของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรูู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเรียนรวม โดยใช้แบบสะกดคํา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิชญา สวัสดี. (2546). การศึกษาความสามารถในการอ่านคําภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนอ่านคํา ภาษาไทยโดยใช้เกมฝึกทักษะ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรนุช ลิมตศิริ. (2542). การสอนเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
อ้อมน้อย เจริญธรรม. (2534). เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงร้อยแก้วภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกการสอนปกติ. ปริญญนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
Ariel. A. (1992). Education of Children and Adolescents with Learning Disabilities. America: McMillan Publishing Company.
Bates, P. (1980). The effectiveness of interpersonal skills training on the social skills acquisition of moderately and mildly retarded adults. Journal of Applied Behavior Analysis. 13: 237-248.
Brown, L., Williams, W. & Crowner, T. (1974). A Collection ff Papers and Programs Related to Public School Services for Severely Handicapped Students, Vol IV. Madison: MMSD.
First, M.B., Francis, A., and Pincus, H.A. (2002). DSM-IV-TR handbook of differential diagnosis. Washington, DC. American Psychiatric Publishing.
John, W.S., and Mary, J.S. (1995). Interactive Storybook Software and Kindergarten Children: The Effect on Verbal Ability and Emergent Storybook Reading Behavior. In Dissertation Abstracts International-A. (CD-ROM). 54(11): 1996. Available: UMI; Dissertation Abstracts (1999).
Lowray. E.B., & Elcanor B.L . (1978). The Effects of four Drill and Practice Time Unit On The Decording Performances of Students with Specific Learning Disabilities. Dissertation Abstracts lnternational. 3(2) : 35 – 37.
Mc Peake. J.G. (1979). The Effects of Original Systematic Study Worksheets. Reading Level and Sex on the Spelling Achiematic of Sixth Grade Students. Dissertation Abstracts International.39(12):7199
River. Willga M . ( 1968 ) . Teaching Foreign Language skills. Chicago : the University
The American Association of Intellectual and Development Disability. (2019). Definition of Intellectual Disability. Retrieved March 20, 2020, From https://www.aaidd.org/intellectual-disability/definition.
Wanschura, P. B., & Borkowski, J. G. (1974). Development and transfer of mediational strategies by retarded children in paired-associate learning. American Journal of Mental Deficiency, 78(5), 631–639.
World Health Organization. (2020). Definition: intellectual disability. Retrievend March 19, 2020, From http://www.euro.who.int/en/health-topics/noncommunicable-diseases/mental-health/news/news/2010/15/
childrens-right-to-family-life/definition-intellectual-disability


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^