การประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน
โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC)
ผู้รายงาน : อินทิรา ปงลังกา
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) 2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) 3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) และ 4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 45 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 123 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 96 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 219 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 123 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 96 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 219 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวนทั้งสิ้น 492 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ชุดที่ 1 การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ชุดที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ชุดที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ชุดที่ 4/1 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ชุดที่ 4/2 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) และชุดที่ 4/3 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) พบว่า ในภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D.= 0.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.29, S.D.= 0.76) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ( = 4.27, S.D.= 0.73) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ( = 4.12, S.D.= 0.78) และด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.89, S.D.= 0.91) ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D.= 0.76)
1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) พบว่า ผลการประเมินความ เป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเพียงพอ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D.= 0.78)
1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมิน ความเหมาะสม เป็นประโยชน์ และพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D.= 0.73)
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D.= 0.91) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า
การประเมินผลลัพธ์ (Output Evaluation) พบว่า ครูผู้สอน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.13, S.D.= 0.72) และนักเรียน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.61, S.D.= 1.04)
การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) พบว่า ครูผู้สอน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.32, S.D.= 0.67) นักเรียน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.66, S.D.= 1.05) และผู้ปกครองนักเรียน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.87, S.D.= 0.98)
2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในการพัฒนาโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
21. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) โรงเรียนควรมีการวิเคราะห์ระดับการอ่าน และคิดของนักเรียนในแต่ละระดับ เพื่อการปรับปรุงการดำเนินการของโครงการ
2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ผู้บริหารควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูในการใช้นวัตกรรม และการวิจัยในชั้นเรียนเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนา
2.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ผู้บริหารควรสนับสนุน ส่งเสริมให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อการดำเนินการตามโครงการ
2.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) โรงเรียนควรมีการประเมินผลผลิตที่เกิดกับนักเรียน โรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครองทุกครั้ง เมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยการประชุมร่วมกับทุกฝ่าย รวมถึงตัวนักเรียนด้วย