การประเมินโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐ
ผู้วิจัย นายวัชระ แสงพงศานนท์
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน คำยางพิทยาคม กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ 2) ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม 3) ประเมินความเหมาะสม ในการดำเนินการจัดกิจกรรมของโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม 4) ประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม และ 5) ประเมินผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียนคำยางพิทยาคม จำนวน 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคำยางพิทยาคม จำนวน 35 คน นักเรียนโรงเรียนคำยางพิทยาคม จำนวน 227 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนคำยางพิทยาคม จำนวน 227 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนคำยางพิทยาคม ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม 5 ชุด โดยชุดที่ 1 ใช้สำหรับสอบถามผู้เชี่ยวชาญ ชุดที่ 2 ใช้สำหรับสอบถามผู้บริหาร ชุดที่ 3 ใช้สำหรับสอบถามคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดที่ 4 ใช้สำหรับสอบถามนักเรียนและชุดที่ 5 ใช้สำหรับสอบถามผู้ปกครอง และแบบทดสอบ 1 ชุด ใช้สำหรับประเมินความรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้ประเมินได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและแบบทดสอบด้วยตนเองทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ dependent
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบท พบว่า ผู้บริหารและครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 สอดคล้องกับนโยบายของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอยู่ในระดับมาก ยกเว้นความสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้เชี่ยวชาญและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้าเมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้า ของโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน คำยางพิทยาคม ว่ามีความพร้อมในการดำเนินงานของผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการดำเนินโครงการ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเพียงพอ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม งบประมาณในการดำเนินโครงการ มีเพียงพอ มีคู่มือดำเนินโครงการ วัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติกิจกรรมมีเพียงพอ และระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการเมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและความเหมาะสม ของกระบวนการของโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม ว่ามีความพร้อมและความเหมาะสมเกี่ยวกับการวางแผนดำเนินโครงการสู่ การปฏิบัติ ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนที่กำหนดไว้ จัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึง การดำเนินโครงการเป็นไปตามโครงการที่กำหนด มีการติดตามประสานงานการจัดกิจกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการกำกับ ติดตามควบคุมการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ เมื่อพบว่า บกพร่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม ประเมินผลแต่ละกิจกรรมโดยใช้เทคนิคและวิธีการ ที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม ผู้บริหารมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และโรงเรียนมีการขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมลงสู่ชุมชน/เผยแพร่อยู่ในระดับมากทุกข้อ
4. ด้านผลผลิตมีการประเมินนักเรียนใน 3 ด้านซึ่งประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนประเมินตนเอง 2) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ความพึงพอใจต่อโครงการโดยผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนเป็นผู้ประเมินและเมื่อพิจารณา ในแต่ละด้านสรุปผลได้ดังนี้
4.1 การประเมินผลผลิตด้านทักษะการคิด ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยของทักษะการคิดของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า เมื่อมีการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม แล้วทำให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้นกว่าก่อนดำเนินโครงการ
4.2 การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกิดกับนักเรียน ประกอบด้วย
4.2.1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์รักเกียรติ รักศักดิ์ศรี
1) กิจกรรมรู้รักสามัคคีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านรักเกียรติ มีศักดิ์ศรีของกิจกรรมรู้รักสามัคคีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) กิจกรรมส่งเสริมความเป็นผู้นำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านรักเกียรติ มีศักดิ์ศรีของกิจกรรมส่งเสริมความเป็นผู้นำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีคุณธรรมจริยธรรม
1) กิจกรรมฐานคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคุณธรรมของกิจกรรมฐานคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมฐานคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม น้อมนำทำดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคุณธรรมของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.2.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านนำวิชาการ มีทักษะการคิด
1) กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านนำวิชาการของกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านนำวิชาการของกิจกรรมบูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3) กิจกรรมฐานตามรอยพ่อ พออยู่ พอกินและพอเพียง พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านนำวิชาการของกิจกรรมฐานตามรอยพ่อ พออยู่ พอกิน และพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4) กิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านสืบสานความพอเพียงของกิจกรรม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.2.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านสืบสานความพอเพียง
1) กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทาง การศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านสืบสานความพอเพียงของกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) การประเมินผลผลิตของกิจกรรมการพัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประเมินผู้บริหาร และครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีผู้บริหาร ครูและบุคลากรทาง การศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ประเมิน พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทาง การศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.3 การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม พบว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. การประเมินผลกระทบที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคำยางพิทยาคม พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด