การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์
ผู้วิจัย ว่าที่เรือตรีศุภวัฒน์ เทียมศรีรัชนีกร
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
ปีที่ทำวิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ประเมินทั้งระบบของโครงการ ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต และการประเมินในส่วนปรับขยายด้านผลผลิต ได้แก่ 4.1) ด้านผลกระทบ 4.2) ด้านประสิทธิผล 4.3) ด้านความยั่งยืน และ 4.4) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง จำนวน 288 คน และนักเรียน จำนวน 288 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 611 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ด้านบริบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการครอบคลุมภารกิจที่กำหนดและเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า วิธีการดำเนินงานตามโครงการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในโครงการ
3. ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า การกำหนดกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง พบว่า โรงเรียนพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ชีวิตพอเพียง ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน และตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
4.1 ด้านผลกระทบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง พบว่า โรงเรียนได้รับการยอมรับและมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา และตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความสุขและพึงพอใจต่อการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
4.2 ด้านประสิทธิผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า โรงเรียนดำเนินโครงการและจัดกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ และทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.3 ด้านความยั่งยืน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า การจัดกิจกรรมในโครงการมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปประกอบอาชีพในอนาคตและตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า ผลความสำเร็จของกิจกรรมในโครงการสามารถถ่ายทอดเพื่อเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายกับชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ ในการถ่ายทอดความรู้จากการดำเนินโครงการ และตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า นักเรียนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมสู่เพื่อนและครอบครัว