รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์)
ผู้ศึกษา นางสุนทรี บุญพระลักษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดตำหนักเหนือ
(ชื่นวิทยานุสรณ์)
สถานศึกษา โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์)
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์)อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2565
โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประกอบด้วย ประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 60 ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 39 คน ครู จำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 8 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมรักการอ่าน ชุดที่ 2 ประเมินนิสัยรักการอ่าน ชุดที่ 3 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชุดที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครอง ชุดที่ 5 แบบบันทึกระดับผลการเรียนของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.47 (S.D.= 0.56) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 5 การกำหนดเป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับปัญหา และวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.64 (S.D.= 0.45) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ที่มีความสอดคล้องกับการจัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) อยู่ในระดับ มาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.40 (S.D.= 0.59)
ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 5 ครูผู้รับผิดชอบโครงการมีศักยภาพในการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.68 (S.D.= 0.47) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านปัจจัยพื้นฐานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 (S.D.= 0.54)
ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 9 มีการให้คำปรึกษา แนะนำ มีค่าเฉลี่ย 4.76 (S.D.= 0.43) ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
4.1 ผลการประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.55 (S.D.= 0.57) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 2 โครงการนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนในการพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน การฟัง และมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆด้วยตนเอง และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ข้อ 7 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเขียน การฟัง มุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ข้อ 8 กิจกรรมและวิธีการตามโครงการ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และข้อ 9 กิจกรรมตามโครงการนี้ ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ค่าเฉลี่ย 4.68 (S.D.= 0.55) เท่ากัน ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.2 ผลการประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียนที่เกิดจากโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.= 0.66) อยู่ในระดับมากทุกข้อ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 7 อ่านทบทวนบทเรียน ค่าเฉลี่ย 4.42 (S.D. = 0.49) และ ข้อ 8 อ่านข่าวสาร ค่าเฉลี่ย 4.42 (S.D. = 0.82) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก เห็นว่า ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน ในการอ่านข่าวสาร และอ่านทบทวนบทเรียนอยู่ในระดับ มาก
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.38 (S.D.= 0.61) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 3 การมีส่วนร่วมของคุณครู ค่าเฉลี่ย 4.74 (S.D.= 0.44) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม สัปดาห์ห้องสมุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 (S.D.= 0.68) และเล่านิทาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 (S.D.= 0.60)
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.48 (S.D.= 0.61) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 4 การมีส่วนร่วมของนักเรียน ค่าเฉลี่ย 4.73 (S.D.= 0.45) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้บัญชีคำพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดตำหนักเหนือ(ชื่นวิทยานุสรณ์) มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอ่านเป็นคำ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.68 (S.D.= 0.47) และกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.45 (S.D.= 0.66)
4.5 ผลการเปรียบเทียบผลการพัฒนาผลการอ่าน - เขียนของนักเรียน ระหว่างครั้งที่ 1 และครั้งที่ 10 พบว่า ในการประเมินครั้งที่ 1 มีนักเรียนได้ระดับคุณภาพ ระดับ 3 จำนวน 42 คน การประเมินครั้งที่ 10 มีนักเรียนได้ระดับคุณภาพ ระดับ 3 จำนวน 65 คน นักเรียนมีผลการพัฒนาเพิ่มขึ้น 23 คนปีการศึกษา 2551 มีนักเรียนได้ผลการเรียนระดับ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.65
Title Project Promoting reading habits using basic word accounts to solve problems
Learning recession Wattamnaknea (Cheunwittayanusorn) School
Research Mrs. Suntharee Bunpraluk, director of Wattamnaknea (Cheunwittayanusorn) School Wattamnaknea (Cheunwittayanusorn)
Year of study 2022
Abstract
Evaluation of reading love promotion projects of Wattamnuknea (Cheunwittayanusorn) School. The objective is to evaluate the performance of
the student's reading-loving program. Academic Year 2022.
An assessment model by Using CIPP Model of Stufflebeam was to consist Context Evaluation, Input Evaluation,Process Evaluation and Product Evaluation. The population consisted of 39 students, 9 teachers and 12 guardians. The tools which used to collect the data were the 5-level rating scale evaluation forms.
There are 8 sets of these evaluation forms. The 8 sets are as follows; 1) Context Evaluation, 2) Input Evaluation, 3) Process Evaluation, and 4) Product Evaluation. The product evaluation consists of 5 items. Item 1 is used to evaluate activities of Love Reading Encouraging Project. Item 2 is used to evaluate students’ love reading. Item 3 is used to evaluate students’ behavior. Item 4 is used to evaluate students’ satisfaction. Item 5 is used to evaluate teachers and guardians’ satisfaction. And item 6 is used to record developped students’ scores.
The results were summarized below:
1. Director ,teachers and guardians thought that the context of the project was general in the level “many”. The mean was 4.47 (S.D.= 0.56). The topmost mean item was The goal setting of the project is consistent with the problem and the objectives of the project. The mean was 4.64 (S.D.= 0.45).The purposes were in agreement with the project’s context Evaluation was in agreement with each other.
2. The project’s input evaluation was general in the level “mamy”. The mean was 4.40 (S.D.= 0.59). The topmost mean item was Teachers and guardians thought The teacher in charge of the project has the potential to work were responsible for this project. The facilities which were supported by the school’s policy and vision were general in the level “many”
3. The project’s process evaluation was general in the level “most”. The mean was 4.52 (S.D.= 0.54). The topmost mean item was the Counseling and advice The mean was 4.76 (S.D.= 0.43). The director , teacher and the guardians thought that were in agreement.
4. Product Evaluation Forms were as follows;
4.1. The result of this Project Promoting reading habits using basic word accounts to solve problems Learning recession Wattamnaknea (Cheunwittayanusorn) School was general in the level “most”. The topmost was 4.55 (S.D.= 0.57). The topmost mean item was item was The goal setting of the project is consistent with the problem , helped foster engagement among students. Teachers, parents, and communities and the objectives of the project. the important of reading. Reading continuously, reading in free time and reading increasingly were general in the level “most”.
4.2. The result of students’ love reading evaluation was general in the level “many”. The mean was 4.25 (S.D.= 0.57). The topmost mean item was Read the lesson review and the objectives of the project. the important of reading. Reading news were general in the level “many”.
4.3. The result of students’ behavior evaluation was general in the level “many”. The mean was 4.38 (S.D.= 0.61). The topmost mean items were how Teachers engagement, library activity and story telling.
4.4. The result of guardians’ satisfaction evaluation to this project was general in the level “many”. The mean was 4.48 (S.D.= 0.61). The topmost mean items were the students engagement, the satisfaction of “read by word” Activity and the library’s activities were suitable for everybody were general in the level “most”.
4.5 The result of students’ scores development (compare by using final scores between 1st and 10th from 3 activities was found that 42 students got level 3 in 1st and 65 students got level 3 in 10th. This said that the number of students who got grade 3 in 10th were more than in 1st up to 23 students or it was higher to 19.65 percentages.