การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (RAKCOM Model)
ผู้วิจัย นางสาวดวงดาว โกกะพันธ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (RAKCOM Model) การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหา และการวัดและประเมินผล ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีชื่อเรียกว่า “RAKCOM Model” มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมก่อนเริ่มความรู้ใหม่ (Review) ขั้นที่ 2 เลือกหัวข้อเรื่องด้วยกระบวนการกลุ่ม (Act by team) ขั้นที่ 3 รู้จักวางแผนการดำเนินงาน (Know to plan) ขั้นที่ 4 ลงมือปฏิบัติ (Continue to work) ขั้นที่ 5 หาโอกาสนำเสนอผลงาน (Opportunity) และขั้นที่ 6 การจัดการประเมินผลงานเพื่อการพัฒนา (Management) ผลการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.706, S.D. = 0.531)
2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (RAKCOM Model) พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.764, S.D. = 0.483)