LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง :     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
        (Active Learning) โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565
ผู้รายงาน :     นายศราวุธ สุวรรณวรบุญ
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีที่รายงาน : 2566

    การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 164 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสถานะของกลุ่มตัวอย่างโดยกำหนดxxxส่วนกลุ่มตัวอย่างตามสถานะครบทั้ง 4 ประเภท คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน จากนั้นสุ่มอย่างเป็นระบบในxxxส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน สำหรับxxxส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำหรับการประเมินโครงการในครั้งนี้ประกอบไปด้วยแบบสอบถามฉบับที่ 1 - 6 และแบบตรวจสอบรายการปริมาณแหล่งเรียนรู้ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลผ่านกระบวนการหาคุณภาพก่อนนำไปใช้ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลการประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตโดยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
    ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการซึ่งเป็นการประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับการแก้ปัญหา ความต้องการและนโยบายระดับต่าง ๆ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.83, S.D.= 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อคำถามมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของระดับความสอดคล้องมากที่สุดคือข้อที่ 4 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2565 ("X" ̅ = 5.00, S.D.= 0.00) รองลงมาคือข้อที่ 2 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2565 และข้อที่ 3 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปี พ.ศ. 2565 ("X" ̅ = 4.93, S.D.= 0.26) และข้อที่น้อยที่สุดคือข้อ 7 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้อ 8 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามบริบทของสถานศึกษา ("X" ̅ = 4.67, S.D.= 0.49)    
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการซึ่งเป็นการประเมินความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ รวมถึงความพร้อมด้านการบริหารจัดการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมมีพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.66, S.D.= 0.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความพร้อมมากที่สุดคือความพร้อมด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.90, S.D.= 0.42) รองลงมาคือความพร้อมด้านบุคลากร ("X" ̅ = 4.71, S.D.= 0.46) และด้านที่น้อยที่สุดคือความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่อยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.44, S.D.= 0.50)
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการซึ่งเป็นการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการในการดำเนินโครงการ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การลงมือปฏิบัติ (Do) การตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุง (Act) ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.63, S.D.= 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกขั้นตอน ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมของกระบวนการในการดำเนินโครงการมากที่สุดคือขั้นตอนการวางแผน (Plan) อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.88, S.D.= 0.33) รองลงมาคือขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) ("X" ̅ = 4.75, S.D.= 0.44) และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมของกระบวนการในการดำเนินโครงการน้อยที่สุดคือการปรับปรุง (Act) อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.57, S.D.= 0.50)
4. ผละการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) แบ่งเป็น 2 รายการดังนี้
4.1 ปริมาณแหล่งเรียนรู้
        ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product Evaluation) ในส่วนของปริมาณแหล่งเรียนรู้ที่กำหนดเป็นเป้าหมายในการดำเนินโครงการจำนวน 16 แหล่งเรียนรู้ พบว่า แหล่งเรียนรู้ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้งหมด 16 แหล่งเรียนรู้ เป็นไปตามเป้าเหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100
    4.2 ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยจำแนกผลการประเมินรายสถานะดังนี้
            4.2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.60, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 13 แหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสร้างการรับรู้ทางกายภาพที่ส่งผลต่อเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.93, S.D.= 0.27) รองลงมาคือข้อ 2 แหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถบูรณาการการจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายสาระวิชามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.86, S.D.= 0.36) และน้อยที่สุดคือข้อ 14 แหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการอภิปราย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.36, S.D.= 0.50)
            4.2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.58, S.D.= 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 1 ท่านมีความพึงพอใจแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 5.00, S.D.= 0.00) รองลงมาคือข้อ 2 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นมีความสวยงามเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้ของนักเรียนและข้อ 5 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนในการค้นคว้าหาความรู้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.80, S.D.= 0.45) และน้อยที่สุดคือข้อ 6 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.20, S.D.= 0.45) และข้อ 8 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นมีผลทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนเป็นอย่างดีและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.20, S.D.= 0.84)
            4.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.51, S.D.= 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 1 ท่านมีความพึงพอใจแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.83, S.D.= 0.38) รองลงมาคือข้อ 2 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นมีความสวยงามเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้ของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.80, S.D.= 0.40) และน้อยที่สุดคือข้อ 3 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นสามารถเร้าความสนใจให้นักเรียนของท่านอยากมาเรียนที่โรงเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.23, S.D.= 0.83)
            4.2.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.55, S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 13 นักเรียนมีความพึงพอใจกับการได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงในการดำเนินกิจกรรมที่ห้องคอมพิวเตอร์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.92, S.D.= 0.27) รองลงมาคือข้อ 3 นักเรียนรู้สึกพึงพอใจกับบรรยากาศห้องเรียนของนักเรียนได้รับการตกแต่งจากป้ายนิเทศ แผนภาพความรู้หรือการมีมุมความรู้ในห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.78, S.D.= 0.42) และน้อยที่สุดคือข้อ 8 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากป้ายนิเทศ แผนภาพความรู้ต่าง ๆ หรือมุมความรู้ที่อยู่ภายในห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.25, S.D.= 0.78)

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งถือว่าโครงการประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ สามารถนำโครงการและรูปแบบการประเมินไปปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาตามความเหมาะกับบริบทแต่ละโรงเรียน
    การดำเนินการในการประเมินโครงการในแต่ละด้านควรมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและกำหนดขอบข่ายหน้าที่ในการดำเนินงานอย่างชัดเจนเพื่อให้การประเมินโครงการในแต่ละด้านมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและการดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
    การดำเนินโครงการและการประเมินโครงการจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยสองส่วนที่สำคัญคือบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ และปัจจัยที่สำคัญอีกประการก็คืองบประมาณที่เพียงพอและบุคลากรฝ่ายบริหารงานงบประมาณมีความรู้ความสามารถด้านการเงินและงบประมาณและมีความพร้อมในการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการเพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็วและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
    ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
    ควรมีการนำรูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ไปใช้ในการประเมินกับโครงการอื่น ๆ ในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเชิงลึกในการตัดสินใจและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับโรงเรียน ใช้ทรัพยากรที่ได้รับจัดสรรจากรัฐในการดำเนินโครงการอย่างคุ้มค่าและโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นในระดับเดียวกัน อาทิ โรงเรียนข้างเคียงหรือโรงเรียนทั่วไปทั้งในสังกัดเดียวกันหรือต่างสังกัด หน่วยงานต้นสังกัด รวมถึงสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ในการร่วมกันจัดทำโครงการและประเมินโครงการเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิดและมุมมองในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในแต่ละมิติที่มีความครอบคลุม ต่อเนื่องและยั่งยืน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^