รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระ
โรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน : จิดาภา เพ็งช่วย
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านระหว่างควน
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู บุคลากรทางการศึกษาและกรรมการสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 6 คน (เลือกแบบเจาะจงเฉพาะครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (เลือกแบบเจาะจงเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ เว้นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน) นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 28 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ปกครองนักเรียนในการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ เนื่องจากนักเรียนไม่สามารถอ่านและเข้าใจข้อคำถามของแบบสอบถามความพึงพอใจ) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 (เลือกเจาะจงเฉพาะนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6) จำนวน 31 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 59 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 31 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของครู บุคลากรทางการศึกษา และกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯Χ = 4.56, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า กิจกรรมประชุมผู้ปกครองและเครือข่ายผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (¯Χ = 4.66, S.D. = 0.53) รองลงมา คือ กิจกรรมจัดทำวารสารระหว่างควนสัมพันธ์ (¯Χ = 4.62, S.D. = 0.59) กิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน (¯Χ = 4.58, S.D. = 0.60) กิจกรรมมอบทุนการศึกษา (¯Χ = 4.57 S.D. = 0.68) กิจกรรมสานสัมพันธ์เยี่ยมบ้านนักเรียน (¯Χ = 4.56, S.D. = 0.73) กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (¯Χ = 4.46, S.D. = 0.65) และกิจกรรมการทำประกันอุบัติเหตุ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (¯Χ = 4.44, S.D. = 0.76)
2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯Χ = 4.67, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุดกับระดับมาก โดยข้อที่ 19 ท่านเห็นว่าโรงเรียนจัดทำวารสารอย่างต่อเนื่องและได้รับวารสารอย่างทั่วถึง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (¯Χ = 4.90, S.D. = 0.30) และข้อที่ 18 ท่านเห็นว่าโรงเรียนมีการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีความจำเป็นต่อการส่งต่อ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (¯Χ = 4.39, S.D. = 0.88)
3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านระหว่างควน ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯Χ = 4.65, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุดกับระดับมาก โดยข้อที่ 8 นักเรียนให้ข้อมูลที่เป็นจริงทุกครั้งเมื่อมีการสอบถามจากครูประจำชั้น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (¯Χ = 4.86, S.D. = 0.43) และข้อที่ 17 นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำวารสารและประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (¯Χ = 4.49, S.D. = 0.77)