การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรีหญิงศศินา ฮองโยง ครู คศ.1 โรงเรียนบ้านซิวาเดอ
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ มาตรา 6 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่ายกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ภาษาไทยเป็นภาษาของชาติและเป็นเครื่องสำคัญในการแสวงหาความรู้ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนรู้โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ จึงได้ดำเนินการประเมินทักษะภาษาไทยการใช้ภาษาไทยพบว่า นักเรียนยังขาดทักษะทางภาษาไทย โดยเฉพาะการเขียนสะกดคำ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
จากปัญหาดังกล่าว จึงได้พัฒนาการใช้ภาษาไทย ด้านการสะกดคำ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เพื่อให้ผู้เรียนได้เสริมสร้างและพัฒนาตนเองตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของผู้เรียน
2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า เกิดการใฝ่รู้ และนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มสาระ
สมมุติฐานของการวิจัย
ในการพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ในรายวิชาภาษาไทยนักเรียนมีการพัฒนาการทักษะการอ่าน การเขียน สูงขึ้นหลังจากใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีการพัฒนาการอ่านและการเขียนสูงขึ้นหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
2. นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า เกิดการใฝ่รู้ และนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระให้สูงขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน โดยมีการทดสอบก่อนเรียน หลังเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะ
2. ประชากร คือ นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านซิวาเดอ จำนวน 18 คน
เครื่องมือวิจัย
1. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) จำนวน 20 ข้อ โดยเป็นข้อสอบแบบอัตนัยทั้งหมด
2. นักเรียนศึกษาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
3. แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) จำนวน 20 ข้อ โดยเป็นข้อสอบอัตนัยทั้งหมด โดยเป็นข้อสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน แต่หากสลับข้อไปมา
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ครูทดสอบนักเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและทำการบันทึกผลคะแนน
2. นักเรียนฝึกทำแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำในแต่ละแบบฝึกที่กำหนด
3. ทำการทดสอบอีกครั้ง โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และบันทึกผลคะแนน
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำผลคะแนนแบบฝึกหัดก่อนและหลังเรียน ของผู้เรียนมาใช้วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน และวิเคราะห์ผลต่างเชิงสถิติของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ โดยการเขียนตามคำบอก โดยใช้ค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัย
จากการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ ของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน โดยใช้ผลลัพธ์ดังตาราง
ตาราง ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ของกลุ่มนักเรียนตัวอย่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน
คะแนนทดสอบ N Mean S.D. t df sig
ก่อนการเรียน 18 4.83 1.82 10.67 17 0.00**
หลังการเรียน 18 12.83 2.50
*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากตารางพบว่า
1. ก่อนการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มนักเรียนตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 1.82
2. หลังการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของกลุ่มนักเรียนตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 18 คน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 12.83
3. ค่า Tคำนวณ เท่ากับ 10.67 ซึ่งมากว่า Tตาราง แสดงว่าหลังก่อนการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของกลุ่มนักเรียนตัวอย่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยสูงขึ้นได้จริง
การสะท้อนผลการวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนนั้นแสดงให้เห็นว่า นักเรียนยังไม่มีพื้นฐานความรู้ในเรื่องคำศัพท์เกี่ยวกับการเขียนสะกดคำหรือการใช้ในชีวิตประจำวัน หรือมีความรู้พื้นฐานมาบ้างแต่ไม่สามารถจดจำหรือเขียนคำศัพท์เหล่านั้นให้ถูกต้อง แต่หลังจากที่นักเรียนได้ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำทำให้นักเรียนมีความรู้ ความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ สามารถเขียนคำ เขียนสะกดคำได้อย่างถูกต้อง และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าจะมีนักเรียนบางคนที่มีค่าคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดไม่ค่อยดีเท่าที่ควรนั้น ก็อาจเป็นเพราะนักเรียนขาดความต่อเนื่องในการทำความเข้าใจ และในบางครั้งก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียนที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนานักเรียน