รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้าน
โดยใช้รูปแบบ CIPPiest (CIPPiest Model)
ผู้รายงาน นางพัชรินทร์ เรียบร้อย
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านคำม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
ปี พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โรงเรียนบ้านคำม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายโยงความรู้ ที่ได้จากโครงการ ผู้รายงานใช้วิธีการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest (CIPPiest Model) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามความคิดเห็นจาก ครูและบุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 95 คน จำแนกเป็น ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 44 คน และผู้ปกครองนักเรียน 44 คน โดยใช้ประชากรเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น แบ่งเป็น 4 ชุด ข้อคำถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 66 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.0 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ 0.51 ถึง 0.89 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 - 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. บริบทของโครงการ (Context) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่หลากลาย ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรูมีความเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงคและเป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคลองกัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ จำนวนบุคลากรที่ร่วมดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสม เพียงพอ รองลงมา ได้แก่ ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดทำและจัดหาสื่อการสอน อย่างเพียงพอ ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม เพียงพอ
3. กระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ การศึกษาสภาพปญหาและความตองการในการดำเนินงานตามโครงการ รองลงมา ได้แก่ การประเมินผลการดำเนินโครงการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยใชสื่อการสอนอย่างหลากหลาย ที่สงเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกแกปญหาและนำไปใชในชีวิตจริงได้
4. ผลผลิตจากการดำเนินงานโครงการ (Product) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ สื่อการสอน สามารถเสริมแรงและกระตุนการเรียนรู้ ของนักเรียนได้ดี รองลงมา ได้แก่ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู ดำเนินตามแผนการจัดการเรียนรูทุกขั้นตอนนักเรียนมีสวนร่วมในการกำหนดเกณฑการวัดผลและประเมินผล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การใชสื่ออุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมได้ประโยชนคุมค่าและผู้เรียนได้ใชสื่ออุปกรณ์อย่างทั่วถึง
5. ผลกระทบ (Impact) จากการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านคำม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความตระหนักในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รองลงมา ได้แก่ ครู นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การไดรับรางวัล/ผลงานทางวิชาการของนักเรียน/ครู
6. ประสิทธิผล (Effectiveness) จากการดำเนินงานตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านคำม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ การดำเนินงานโครงการมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษารองลงมา ได้แก่ การดำเนินงานโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การดำเนินงานโครงการมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า
7. ความยั่งยืน (Sustainability) ที่ได้รับจากโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านคำม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ สามารถนำหลักการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน รองลงมา ได้แก่ สามารถนำความรู้ที่ได้จากโครงการไปใช้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และครอบครัว
8. การถ่ายโยงความรู้ (Transportability) ที่ได้รับจากโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านคำม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ มีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานโดยใช้ช่องทางและวิธีการที่หลากหลายอื่น รองลงมา ได้แก่ สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพวิชาการสามารถถ่ายทอดความรู้ แนวคิด เกิดประโยชน์กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงาน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การดำเนินงานโครงการสามารถเป็นแบบอย่างในการขยายผลสู่สถานศึกษาอื่น ๆ ได้