การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย ราตรี อินทจันทร์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนการเรียนรู้ และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ 4) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 ชุด 5) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 6) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ 7) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ 8) แบบประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ และ 9) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และและวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ T-Test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการวิเคราะห์เอกสารมีองค์ประกอบที่หลากหลาย
2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีชื่อเรียกว่า “Eplus PIAMFSA Model” (อีพลัส พิแอมเอฟซา โมเดล) มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้เดิมและการเตรียม การเรียนรู้ (Elicitation and Preparation) ขั้นที่ 2 ขั้นเร้าความสนใจและการนำเสนอ (Engagement and Introduction) ขั้นที่ 3 ขั้นการสำรวจ ค้นหาและฝึกการคิดวิเคราะห์ (Exploration and Analytical Thinking Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นอธิบายและการจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ (Explanation and Memory Formation) ขั้นที่ 5 ขั้นขยายความรู้บูรณาการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (Elaboration and Functional Integration) ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Evaluation and Share) และ ขั้นที่ 7 ขั้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Extension and Application) โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.99/84.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีดังนี้
3.1 ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีข้อมูลที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้รูปแบบมีความสมบูรณ์และนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด