การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ผู้วิจัย นางสาวจินตนา ศุภกรธนสาร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
บทคัดย่อ
ในการพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ ๒) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ ๓.๑) หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓.๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๓) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๔) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๕) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๔) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น ๔ ระยะ ระยะที่ ๑ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ จำนวน ๔ คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๒ คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่
แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ ๒ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๗ คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบ ระยะที่ ๓ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๒ จำนวน ๓๗ คน ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๑ แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ ๐.๘๐–๑.๐๐ ค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ ๐.๓๒–๐.๗๖ และมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๓๒–๐.๗๗ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓ แบบแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ ๐.๖๐ – ๑.๐๐ ระยะที่ ๔กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จำนวน ๙ คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความคิดเห็น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ ๐.๘๐-๑.๐๐ ตั้งแต่ ๐.๔๙ – ๐.๗๙ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๑ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test (Independent system)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนยังเน้นการอธิบาย ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วนักเรียนปฏิบัติตาม จึงไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงไปสู่การคิดสร้างสรรค์ให้บรรลุเป้าหมายได้ ครูยังให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอน แล้วนักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่ครูอธิบายเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ถูกต้อง ไม่ได้สนับสนุนและเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดหาแนวทาง แบบแผนการปฏิบัติที่แตกต่างหลากหลายด้วยวิธีการแบบใหม่ อีกทั้งนักเรียนจดจำวิธีการปฏิบัติวิธีตามขั้นตอนที่ครูอธิบายแนะนำไว้เท่านั้น ขาดการฝึกคิดค้นหาวิธีการตามแนวทางใหม่ จึงส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติที่ดี
๒. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (RSPCC Model) มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น ๖ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๔) ระบบสังคม ๕) หลักการตอบสนอง และ ๖) สิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Reviewing : R) ขั้นที่ ๒ การแสวงหาความรู้ใหม่ (Seeking New Knowledge) ขั้นที่ ๓
ฝึกทักษะและการนำไปใช้ (Practice and applying : P) ขั้นที่ ๔ สื่อสารและนำเสนอ (Communication and presentation : C) และ ขั้นที่ ๕ ขั้นสรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้ (Concluding and applying principles : C) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๓
๓. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (RSPCC Model) พบว่า ๑) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๔.๕๓/๘๔.๓๐ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้ ๒) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีทักษะปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๕) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
๔. ผลการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพต่อการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (RSPCC Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก