เกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล
ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน : นายธรรมรัตน์ สงศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดควนวิไล
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 3. เพื่อประเมินกระบวนการ ( Process Evaluation) ของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 4. เพื่อประเมินผลผลิต ( Product Evaluation) ของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 86 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อม ของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. = .26)
2. ผลการประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงานของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.80 , S.D. = .25 )
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83, S.D. = .15)
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจ
พอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564
4.1 ผลการประเมินผลผลิต ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน มีผลการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.84, S.D.= .14)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดควนวิไล ปีการศึกษา 2564 ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.85, S.D. = .21)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 สภาวะแวดล้อมของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่าโครงการนี้ตอบสนองนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดทุกระดับและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน ควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปและปรับปรุงผลการประเมินบางประเด็นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.2 ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญ กับการพัฒนาบุคลากร ผู้รับผิดชอบโครงการ สนับสนุนปัจจัยที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมในโครงการอย่างเพียงพอ
1.3 กระบวนการของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญในด้านการวางแผน ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมวางแผนดำเนินการและร่วมกันกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
1.4 ผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมของโครงการ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงควรพัฒนากิจกรรมให้เป็นกิจกรรมเด่นของโครงการในปีต่อไป
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษา และดำเนินการในครั้งต่อไป
2.1 การจัดกิจกรรมตามโครงการที่โรงเรียนจัดขึ้น ควรประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบถึงความจำเป็น และมีส่วนร่วมในการวางแผนเตรียมการให้มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานหรือมีปัญหาน้อยที่สุด มีการประเมินผลการดำเนินงานทุกครั้ง และนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงการดำเนินงานใน
ครั้งต่อไป
2.2. ครูควรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นแบบอย่าง และถ่ายทอด บ่มเพาะนักเรียน และติดตามผลนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรจัดกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมเด่นของโครงการให้มีความต่อเนื่อง และขยายผลไปยังโรงเรียน หรือหน่วยงาน เครือข่ายอื่นๆ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น
2.4 ควรจัดกิจกรรมที่บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การเชื่อมโยงของกิจกรรมในโครงการอื่นๆของโรงเรียน